วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

เพชรสังฆาต สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวารหนัก

เพชรสังฆาต

สำหรับริดสีดวงทวาร คือ โรคที่เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นเส้นเลือดที่บริเวณปากทวารหนักที่เรียกว่า ริดสีดวงทวารภายนอก ถ้าเป็นเส้นเลือดที่ผนังท่อทวารหนัก จะเรียกว่า ริดสีดวงทวารภายใน  ส่วนอาการของ ริดสีดวงทวารระยะแรก อาจมีเพียงการถ่ายอุจจาระลำบาก คันก้น รู้สึกเจ็บเวลาถ่าย เดิน,นั่งลำบาก บางครั้งมีเลือดออกเวลาถ่ายหรือหลังการถ่ายอุจจาระ มีลักษณะเป็นเลือดสีแดงสดๆ ถ้าไม่ปรับปรุงพฤติกรรมหรือไม่ได้รับการรักษา อาการจะเห็นได้ชัดขึ้น คือ มีหัวริดสีดวงโผล่ออกมาที่ปากทวารหนักเป็นก้อนเนื้อนุ่มๆอักเสบ เจ็บปวดมากจนนั่งเก้าอี้หรือพื้นแข็งไม่ได้ มักพบในคนที่มีภาวะความกดดันของเส้นเลือดบริเวณทวารหนักนานๆ เช่น มีอาการท้องผูกบ่อยๆ ไอเรื้อรัง อ้วน หรือนั่งทำงานนานๆ เป็นต้น
ดังนั้นควรป้องกันและการดูแลตนเองมิให้โรคริดสีดวงทวาร ดังนี้
- ควรระวังอย่าให้ท้องผูกเรื้อรัง หรืออย่าเบ่งแรงๆ และนานมากเกินไป เวลาถ่ายอุจจาระ ควรรับประทานน้ำ ผัก ผลไม้ให้มากๆเพื่อไม่ให้ท้องผูก หรืออาจใช้ยาระบายช่วยเป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการมากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
- หากคุณเป็นโรคริดสีดวงแล้ว ควรป้องกันไม่ให้มีการอักเสบหรือติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยทำความสะอาดหลังอุจจาระด้วยสบู่และน้ำสะอาด การเช็ดแรงๆจะทำให้อักเสบและติดเชื้อโรคง่าย
- ถ้าปวดมากควรกินยาแก้ปวดและนั่งแช่ในน้ำอุ่น ผสมด่างทับทิม ประมาณ 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
- ถ้าเลือดออกบ่อยๆ ให้สังเกตว่าเยื่อบุตาและเนื้อใต้เล็บซีดกว่าคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าซีดควรไปพบแพทย์ทันที
- ถ้ามีเลือดออกนานเกิน 1 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยมีอายุเกิน 40 ปี ควรไปพบแพทย์เพราะอาจมีโรคอื่นๆร่วมด้วย

        เพราะฉะนั้นจึงมีสมุนไพรที่รักษาโรคริดสีดวงได้ คือ เพชรสังฆาต ควรใช้ลำต้นสดหรือแห้งครั้งละ 2-3 องคุลี (6-9 ซม.) เป็นเวลา 10-15 วันติดต่อกัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียกหรือเนื้อกล้วยสุกหุ้ม กลืนทั้งหมด เพราะเถาสดอาจทำให้คันคอหรือใช้ดองเหล้า 7 วัน รินเฉพาะส่วนน้ำดื่ม ควรกินติดต่อกันจนอาการดีขึ้น
ข้อควรระวัง ในต้นเพชรสังฆาตมีสารแคลเซียมออกซาเลท เป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก ทำให้ระคายเคืองลำคอได้เช่นเดียวกับบอน จึงนิยมสอดไส้ในกล้วยสุกหรือมะขามแล้วกลืนพร้อมกัน จะทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองลำคอ ในปัจจุบันมีผู้ใช้เถาแห้งบดเป็นผง และบรรจุแคปซูลรับประทานเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ยังคงสามารถทำให้ผู้ใช้บางคนปวดท้องได้เช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ฟ้าทะลายโจร


ฟ้าทะลายโจร เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นสมุนไพรไทยมานาน ปัจจุบัน มีการนำฟ้าทะลายโจรมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือ ใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการ กิน มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงสรรพคุณยา และได้พบสารเคมีในส่วน ต่าง ๆ ของพืชอยู่หลายชนิด รวมทั้งสาร Andrographolide ที่เป็นตัวยาสำคัญ ที่มีอยู่ในทุกส่วนคือ ราก ต้น ใบ และได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อจำแนกโรคที่ รักษาได้ดีให้ชัดเจน ซึ่งพบว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโรคได้หลายโรค อาทิ แก้ติด เชื้อทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้อาการ ไอ เจ็บคอ หรือคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ทั่วไป เป็นยา ขมเจริญอาหาร เป็นต้น
ฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์ การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ ช่วย บรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่ เป็นหวัดบ่อย ๆ ร้อนในบ่อย ๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้าน ทาน อ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อน ในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรง ที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยังป้องกันตับจากสารพิษหลาย ชนิด เช่น จากยา แก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นส่วน ผสม
ฟ้า ทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตก กิ่ง ก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซม. ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ สีขาว มีรอบ ประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝัก ต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือรากใบ ทั้งต้น
การปลูกใช้เมล็ดโรยลงดิน กลบดินไม่ต้องลึกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม มักนิยมปลูกตอน ต้นฤดูฝน ไม่ชอบแดดจัดมาก หากอยู่ในที่แจ้งต้นจะเตี้ยใบเล็กหนา ในที่ร่มต้น จะสูง ใบใหญ่แต่บาง ควรปลูกในที่ไม่ร่มและไม่แจ้งนัก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้อง รดน้ำ แต่ ในฤดูแล้งควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกขึ้นได้หนึ่งต้น จนมีฝักแก่ เมล็ดจะกระจายออกไปขึ้นทั่วจนต้องถอนทิ้งบ้าง

ประโยชน์ด้านสมุนไพร ไทยใช้รักษาอาการ เจ็บคอใช้แก้อาการท้องเสีย และโรค อุจจาระร่วงเฉียบ พลันบรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำ ให้ร่างกาย แข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อย ๆ ให้หายเร็วขึ้นใช้เป็นยาภาย นอกเป็นยาพอกฝีรักษาแผลที่เป็นหนอง

วิธี การนำไปใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อน สั้น ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวัน ละ 3 ครั้ง แก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ ใช้ในรูปยาลูก กลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสม กับ น้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้ง ละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้า ทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลาย โจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝา ให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใน ขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อน อาหาร ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่ง ถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดีริน เอาน้ำดื่มกากที่เหลือใช้พอก แผล-ฝีแล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้   
สำหรับ ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ ป่วยที่มีความดันต่ำ และมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อ กินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติ อื่น ๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน ไป เนื่องจาก ฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป.

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

บัวบก


อาการ ปวดหัวที่เกิดจากความดันโลหิตสูงมีคนเป็นกันเยอะ เป็นแล้วจะปวดทรมานมาก ปวดจนหูตาลายไปหมด ทำงานทำการอะไรไม่ได้เลย ต้องกินยาระงับปวดที่แพทย์ผู้รักษาจ่ายให้อาการจึงจะทุเลาลงและหายได้ ในอดีตหรือสมัยโบราณหยูกยาหายาก โดยเฉพาะ ตามชนบทที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง ผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวจะเดินทางไปพบหมอตามสุขศาลา หรือแพทย์โรงพยาบาลในเมืองลำบากมาก ต้องใช้เวลานานครึ่งค่อนวันไม่ทันการณ์กับโรคที่เป็นอยู่ ดังนั้น สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่ชาวบ้านในยุคนั้นนิยมใช้แพร่หลาย โดยให้หมอยาพื้นบ้านเจียดยาไปกินหรือใช้ทำให้หายได้ ซึ่งสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการปวดหัวเนื่องมาจากสาเหตุของความดันโลหิตสูงมี หลายสูตร แต่ที่นิยมใช้กันมากเพราะได้ผลดี มีส่วนประกอบในการทำยาหาได้ง่าย ได้แก่ สูตร บัวบกนั่นเอง

          โดย มีวิธีทำ คือ ให้เอา บัวบกทั้ง ต้นรวมรากแบบสดๆ จำนวน 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ตำละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาวครึ่งลูก เติมน้ำตาลพอให้ได้รสหวานดื่มรวดเดียวจนหมด ในขณะที่มีอาการปวดหัวที่เกิดจากสาเหตุความดันโลหิตสูง จะช่วยให้อาการดีขึ้นและหายได้ ซึ่งสูตรดังกล่าวใช้กับอาการปวดหัวจากสาเหตุอื่นไม่ได้

          บัวบก หรือ ASIATIC PENNYWORTTIGER HERBAL CENTELLE ASIATICA (LINN) URBAN อยู่ในวงศ์ UMBELLIFERAE เป็น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีสรรพคุณเฉพาะคือ น้ำต้มใบสดดื่มรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยใช้ ใบสด 1 กำมือ ล้างน้ำให้ สะอาดตำละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูนน้อยลง

          สาร ที่ออกฤทธิ์คือ กรด MADECASSIC กรด ASIATICOSIDE ซึ่ง ช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ ซึ่งมีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้ดีด้วย นอกจากชื่อ บัวบกแล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกคือ ผักแว่น และ ผักหนอก (อีสาน)

          ประโยชน์ ทางอาหาร ใบและเถากินเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย แกงเผ็ด ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ น้ำคั้นจากใบสดทำเป็นเครื่องดื่ม ที่รู้จักกันดีและนิยมดื่มกันแพร่หลาย ได้แก่ น้ำใบบัวบกเชื่อกันว่าดื่มแล้วแก้ช้ำในดีนัก

          ส่วนใหญ่ผู้ขายชอบทำขายในช่วงฤดูร้อน ตักใส่แก้วขายดื่มแก้กระหายทำให้จิตใจชุ่มชื่นดีมาก

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ตรีผลา สมุนไพรต้านมะเร็ง

 

ตำรับยาตามแพทย์แผนไทยที่มีชื่อว่า ตรีผลา คนไทยทั่วไปอาจไม่คุ้นชื่อยาตำรับนี้

แต่ ในวงการแพทย์แผนไทยและแพทย์อายุรเวทอินเดีย ยาสมุนไพรตำรับนี้เป็นยาพื้นฐานที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล ว่าเป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยรักษาความสมดุลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย และเป็นยาที่ปลอดภัยไร้พิษข้างเคียงใดๆ

คุณประโยชน์ของยาตรีผลา เป็นตำรับยาตามแพทย์แผนไทย เพื่อล้างพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด และระบบน้ำเหลือง และเป็นยาที่ปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงใดๆ ชื่อ ตรีผลา ก็บอกความหมายอยู่แล้ว ตรี แปลว่า สาม ผลา(ผล) คือ ผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่างที่มาประกอบกันเข้าเป็นตำรับเดียวแบบทรีอินวัน ได้แก่ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก และมะขามป้อม



แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดกันก่อน ว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และมีสรรพคุณสุดยอดแค่ไหน 

สมอไทย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia chebula Retz. จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นในภาคต่างๆ ของประเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ผลสมอไทยจะรูปร่างป้อมๆ หรือรูปกระสวย มีเนื้อเยื่อหนาหุ้มเมล็ดซึ่งมีเมล็ดเดียวแข็งๆ ผลโต 2-3 ซ.ม. และยาว 3-4 ซ.ม. มีพูหรือเหลี่ยมตามยาวตัวผล 5 พู ผลแก่สีเขียวอมเหลือง แต่พอแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

นิยมใช้ผลแก่ซึ่งมีรสฝาดเปรี้ยวเนื่องจากมีสารพวกแทนนิน (tannin) จึงใช้เป็นยาสมาน แก้ลมจุกเสียด ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง เป็นยาชงอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย ใช้ภายนอกบดเป็นผงละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกเป็นแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษร้อนภายใน แก้ลมป่วง ระบายลม รู้ถ่ายรู้ปิดเอง คุมธาตุในตัวเสร็จ ถ่ายพิษไข้ สารสกัดจากสมอไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาสมุนไพร เนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิด ในขณะเดียวกันยังสามารถบำรุงสุขภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

ในประเทศอินเดีย สารสกัดจากสมอไทยใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร อาการอาหารไม่ย่อย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง โรคพยาธิ โรคหัวใจ อาการไข้เป็นระยะ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก แผลในทางเดินอาหาร อาเจียน อาการเจ็บปวดในลำไส้ และริดสีดวงทวารหนัก

นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส รวมทั้งเชื้อ HIV และแบคทีเรียบางชนิด บำรุงหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยการทำงานของตับในการกำจัดไขมันออกจากร่างกาย รวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกายได้อีกด้วย

และไม่ใช่แค่ผลสมอไทยเท่านั้นที่ใช้เป็นยาได้ ส่วนอื่นๆ ก็มีสรรพคุณทางยาด้วยเหมือนกัน โดยตามตำรับยาแผนโบราณ ทั้งต้นมีสรรพคุณแก้ท้องผูก เป็นยาสมาน ยาขับเสมหะ แก้อาการเสียวคอและหน้าอก เปลือกเป็นยาขับปัสสาวะ ยาบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ดอกใช้รักษาโรคบิด ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย โดยการจิ้มกับเกลือรับประทาน หรือรับประทานกับน้ำพริกก็ได้ เนื้อหุ้มเมล็ดใช้รักษาเกี่ยวกับน้ำดี ท้องร่วงเรื้อรัง บิด ท้องผูก ท้องขึ้น อืดเฟ้อ โรคหืด กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน อาเจียน อาการสะอึก พยาธิในลำไส้ โรคท้องมาน ตับและม้ามโต
 

สมอพิเภก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เป็นไม้ผลัดใบ มีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ผลมีลักษณะเป็นรูปแบบผลมะละกอ ตรงกลางค่อนข้างจะป่อง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซ.ม. ยาว 2.5-3 ซ.ม. มีอยู่ 5 เหลี่ยม ผิวนอกเป็นขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาทึบ

ส่วนที่นิยมใช้เป็นยาคือผลแก่ มีรสเปรี้ยว ฝาดหวาน เป็นยาระบาย บำรุงธาตุ แก้เสมหะจุกคอ แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวาร

 

มะขามป้อม มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus emblica Linn. จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ในป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง ผลมีลักษณะกลม มีรอยแยกแบ่งออกเป็น 6 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. ผิวนอกขรุขระมีสีน้ำตาล ส่วนหัวมีรอยขั้วก้านผล เนื้อผลเหนียวแตกยาก เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายใน ผลแห้งที่ดีควรมีขนาดใหญ่ อวบอิ่มและแห้งไม่มีก้านผลติดมา

นิยมใช้ผลแก่ซึ่งมีรสเปรี้ยว ฝาดขม เป็นยาแก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ปัจจุบันยังพบว่ามะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และแก้พิษสารตะกั่วได้ ตามตำรับยาแผนโบราณใช้เปลือกลำต้น โดยใช้เปลือกที่แห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียด โรยแก้บาดแผลเลือดออกและแผลฟกช้ำ ใบใช้ใบสดมาต้มกินแก้บวมน้ำ นำมาตำพอกหรือทาบริเวณแผล ผื่นคันมีน้ำหนองน้ำเหลือง และผิวหนังอักเสบ

ผลใช้ผลสดเป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ช่วยระบายขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟันและคอแห้ง ผลแห้งตำให้เป็นผงชงกิน แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือด ท้องเสีย โรคบิด แก้โรคดีซ่านและโรคโลหิตจาง รากต้มกินแก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน แก้ความดันโลหิตสูง และแก้ท้องเสีย

สำหรับสารสกัดจากสมอพิเภกและสารสกัดจากผลมะขามป้อมที่ใส่ลงในสูตรของยาตรีผลา ตามตำรับยาไทยโบราณเพื่อควบคุมผลข้างเคียงของกันและกัน ตำรับ สมุนไพรไทยอ้างว่า การรับประทานสารสกัดจากสมอไทย จะทำให้พิษต่างๆ รวมทั้งสารพิษตกค้าง ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยสิ้นเชิง และจะทำให้มีการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งขึ้นเพื่อเป็นการกวาดล้างทำความสะอาด ระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา

โดยส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้สมุนไพรตัวเดียวในการทำยาตำรับนี้ เนื่องจากต้องควบคุมพิษข้างเคียงของกันและกัน เช่น รสเปรี้ยว ซึ่งมีฤทธิ์ระบายของลูกสมอพิเภก อาจทำให้เกิดอาการมวนท้องจึงต้องใช้ลูกสมอไทยและลูกมะขามป้อมซึ่งมีรสฝาดและ ขม ช่วยแก้ลมจุกเสียดและลดอาการมวนท้อง เป็นต้น

ในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมฤทธิ์ระบายโดยไม่เป็นอันตราย เพราะยาตำรับนี้เป็นยาที่ควบคุมการถ่ายและการหยุดถ่ายโดยอัตโนมัติ ป้องกันมิให้ร่างกายอ่อนเพลีย ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงคนเฒ่าชรา ปัจจุบัน นี้ ตำรับยาตรีผลาเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการรับประทานเพื่อล้างพิษและลดน้ำหนัก เพราะตัวยาจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี และช่วยระบายไขมันออกมาพร้อมการขับถ่ายเป็นปกติ

แต่ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดที่ไม่สะดวกในการบดตัวยานี้ หรือว่ามีสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้อยู่แล้วในบ้าน ก็สามารถนำมาทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่มได้เช่นกัน ซึ่งทำได้ง่ายมาก โดยนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้ในอัตราส่วนเสมอ (1:1:1) ใส่น้ำพอประมาณ ถ้าอยากได้แบบเข้มข้นก็ใส่น้ำน้อย ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว แต่ถ้าอยากได้แบบเจือจาง ใช้ดื่มทั้งวันเป็นน้ำสมุนไพรก็ให้ใส่น้ำมากหน่อย

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กล้วยหอม


ในกล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส (sucrose) ฟรักโทส (fructose) และกลูโคส (glucose) ให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันที โดยมีรายงานวิจัยยืนยันว่า กล้วยหอม 2 ใบให้พลังงานเพียงพอต่อการทำงานถึง 90 นาที

          เรื่อง นี้แฟนเทนนิสคงคุ้นตาภาพนักหวดระดับโลกกินกล้วยหอมระหว่างเกมการแข่งขัน อ้อ! แต่เขาไม่ได้กินรวดเดียว 2 ใบนะ ขืนทำงั้นคงกลายเป็นของกล้วยๆ ให้คู่ต่อสู้ได้ชัย นอกจากให้พลังงาน กล้วยหอมยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสำคัญคือช่วยให้คลายความเศร้าซึม

          จาก การสำรวจและวิจัยไต่ถามพร้อมสุ่มตัวอย่างจากคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเศร้าซึม พบว่าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้กินกล้วยหอม เพราะในกล้วยหอมมี tryptophan กรดอะมิโนโปรตีน ซึ่งร่างกายแปลงเป็น serotonin สารกระตุ้นที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุขมากยิ่งขึ้น

          ขณะ ที่ในสตรีช่วงก่อนมีประจำเดือน อารมณ์จะหงุดหงิดง่าย ไม่อยู่กับร่องรอย และก่อให้เกิดสภาวะต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ฯลฯ การกินกล้วยหอมช่วยได้ระดับหนึ่ง

          ช่วย สู้โรคโลหิตจาง ธาตุเหล็กในกล้วยหอมกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเฮโมโกลบินในกระแสโลหิต หยุดยั้งภาวะโลหิตจางได้ ส่วนที่เกี่ยวกับความดันโลหิต กล้วยหอมมีเกลือโพแทสเซียมเหลืองอยู่มาก เป็นตัวช่วยความดันเลือด ระดับที่หน่วยงานด้านอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้เป็นผลไม้ที่มี ส่วนช่วยลดภาวะความเสี่ยงความดันได้จริง

          กล้วย หอมยังมีประสิทธิภาพช่วยผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพราะวิตามินบี 6 บี 12 โพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่มีอยู่มาก ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสารนิโคติน ในผู้มีอาการเมาค้าง (ซึ่งไม่ควรมีเพราะไม่ควรเมา)

          สารวิตามิน จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานได้เร็วขึ้น และเพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด การกินกล้วยหอมสัก 1 - 2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้

          เส้น ใยในกล้วยหอมช่วยให้การย่อยของลำไส้เล็กทำงานดีขึ้น ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดี ลดปัญหาท้องผูก และสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีอยู่ยังช่วย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แต่อีกด้านกรดต่างๆ ที่มีอยู่ทำให้มีการเคลือบผิวของกระเพาะ ลดการเป็นแผลในกระเพาะได้

          ส่วน ภายนอก บรรเทาแผลยุงกัด หลังยุงกัดจนได้ตุ่มแดง ก่อนใช้ยาทาลองใช้เปลือกกล้วยหอมด้านในถูบริเวณที่ถูกยุงกัด ช่วยลดอาการคันหรือบวม

          อ้วน จากทำงานมากเกินไป กล้วยหอมก็ช่วยได้ สถาบันจิตวิทยาในออสเตรียศึกษาและพบว่า ความเครียดจากที่ทำงานทำให้คนกินช็อกโกแลตและพวกโปเตโตชิพส์มากเกินไป และนั่นทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็นกินกล้วยหอมสักเล็กๆ น้อยๆ ประมาณทุกๆ 2 ชั่วโมง จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดและลดการอยากกินของจุกจิก

          เสริม สร้างพลังสมอง ข้อนี้อ้างอิงจากงานวิจัยอังกฤษที่ระบุว่า ในแคว้นมิดเดิลเซกส์ มีนักเรียนจำนวน 200 คนจากโรงเรียนทวิกเคนแนม บอกว่าสอบผ่านเพราะได้กินกล้วยหอมเป็นอาหารเช้า รวมทั้งกินอีกนิดหน่อยในตอนมื้อเที่ยงเพื่อทำให้สมองสดชื่น โดยงานวิจัยพบว่าโพแทสเซียมในกล้วยหอมช่วยนักเรียนให้ตื่นตัวอยู่เสมอ

          การ รับประทานกล้วยหอมสุกเป็นประจำจะทำให้ร่างกายได้รับสารเพ็กติน โปรตีน วิตามินเอ วิตามินซี รวมถึงธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม บำรุงสายตาให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ยับยั้งการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก ลดการเกิดตะคริว และกล้วยหอมเป็นผลไม้เย็น ผ่อนร้อนได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรในโรคเบาหวาน


สมุนไพร... ในโรคเบาหวาน เบาหวาน จัด เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายมีกระบวนการเมตาบอลิซึม (ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน) ที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารไปใช้ตามปกติได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลิน (Insulin) จากตับอ่อน หรือการทำงานของอินซูลินผิดปกติ
          อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อสร้างพลังงาน ร่างกายผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง ขึ้น
          เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ของร่างกายตามมาได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน ไตวาย และปลายประสาทเสื่อม ทำให้มีอาการชาซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลบริเวณอวัยวะส่วน ปลายได้  
          นอกจากนี้ เกิดความเสื่อมที่จอตา ทำให้ตาพร่ามัว เกิดต้อหินและต้อกระจก และถ้าหากรักษาไม่หายอาจทำให้พิการและเสียชีวิตได้
          ดังนั้น โรคเบาหวานจึงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกทำนายว่าปี พ.ศ.๒๕๖๘ จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง ๓๐๐ ล้านคน เพิ่มจากจำนวน ๑๔๐ ล้านคนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑

ประเภทของเบาหวาน
          เบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด
          โรคเบาหวานชนิดที่ ๑ เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อนในส่วนที่ทำหน้าที่สร้าง อินซูลินเป็นสาเหตุให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๑ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินตั้งแต่เริ่มเป็น จึงมักเรียกโรคเบาหวานชนิดนี้ว่าชนิดพึ่งอินซูลิน
          โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ เป็นเบาหวานที่พบมาก สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่อินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปกติได้

สมุนไพรรักษาเบาหวาน
          วิธีการดูแลรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญคือการคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกายเพื่อให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและช่วยคุมน้ำหนัก การกินอาหารเพื่อให้ได้ทั้งพลังงานและผลดีต่อสุขภาพ การกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอและการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง
          ในส่วนการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลนั้น เป็นการรักษาเพื่อให้มีอินซูลินออกมาให้พอเพียงที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดลง มาสู่ปกติ แต่ไม่ได้เป็นการยับยั้งการดำเนินโรคของเบาหวาน ซึ่งจะมีการสร้างอินซูลินลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งไม่สามารถกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอที่จะลด ระดับน้ำตาลในเลือดได้ สุดท้ายต้องพึ่งการฉีดอินซูลิน
          การแสวงหาทางออกเพื่อยืดระยะเวลาการไปถึงจุดนั้นจึงมีอยู่เป็นปกติของผู้ ป่วยโรคนี้ เป็นเหตุให้สมุนไพรได้รับความนิยมจากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหลาย รวมทั้งยังมีผู้คนอีกจำนวนมากเข้าใจผิดว่าโรคเบาหวานสามารถรักษาให้หายขาด ได้ด้วยสมุนไพร
          การใช้สมุนไพรนั้นมิใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียว เนื่องสมุนไพรหลายชนิดมีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งยังพบประโยชน์ของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเลือด หรือช่วยให้มีการไหลเวียนของหลอดเลือดเล็กๆ ส่วนปลายดีขึ้น มีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์อีกด้วย
          ดังนั้น การรู้เรื่องของโรคและรู้จักสมุนไพรให้ดีจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นและลดค่ายาแผนปัจจุบันที่ประเทศไทยต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ถือเป็นการช่วยชาติอย่างหนึ่ง แต่ขอย้ำว่าต้องอยู่บน “พื้นฐานของความรู้” ซึ่งมีหลักการเลือกใช้สมุนไพร ดังนี้
•    เป็นพืชผักที่กินกันอยู่แล้ว หาง่าย มีความปลอดภัยสูง
•    มีรายงานการศึกษาสนับสนุนว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและมีส่วนช่วยคุมน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
•    มีประโยชน์อื่นๆ นอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน
•    มีการยอมรับและใช้ระดับสากล แพร่หลายในตลาดอาหารสุขภาพ   
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สมุนไพรที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ มะระขี้นก ตำลึง และผักเชียงดา

      มะระขี้นก
         
ขม ขรุขระ ชนะเบาหวาน


           ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia (L.)
           วงศ์ Cucurbitaceae
           ชื่ออื่นๆ ผัก ไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) Bitter Cucumber

          ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยอายุปีเดียว มีมือเกาะเป็นเส้นยาวออกตรงข้ามใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปฝ่ามือ กว้างและยาวประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึก ๕-๗ แฉก เนื้อใบบาง ก้านใบยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ แยกเป็นดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลเป็นรูปรี หัวท้ายแหลม ผิวขรุขระ มีรสขมจัด ผลแก่จัดจะมีสีแดง มะระเป็นพืชที่ขึ้นง่ายตามป่า และสามารถนำมาปลูกเป็นพืชสวนครัวได้ 
          การใช้ประโยชน์อื่นๆ มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย คนไทยทุกภาคนำยอดอ่อนและผลอ่อนมาปรุงเป็นอาหารโดยนำมาลวกเป็นผักจิ้ม อาจจะนำไปผัดหรือแกงร่วมกับผักอื่นแต่นิยมลวกน้ำและเทน้ำทิ้งก่อนเพื่อลด ความขม มีวิตามินเอและซีสูง ในส่วนของจีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ก็กินเป็นผักเช่นเดียวกัน โดยอินเดียจะปรุงเป็นแกง ศรีลังกานำไปปรุงเป็นผักดอง อินโดนีเซียกินเป็นผักสด
          การใช้ประโยชน์ทางยา มีการนำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน พบในตำรับยาพื้นบ้านของทางอินเดียและศรีลังกา ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศอินเดีย แพทย์แผนเดิมของพม่าและแพทย์จีน มีการสั่งจ่ายมะระขี้นกเป็นสมุนไพรเดี่ยวให้กับผู้ป่วยเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย
          สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด มีรายงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง และผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
          จากผลการวิจัยสรุปว่ามะระมีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดคือ อินซูลิน คาแรนทิน (charantin) และไวซีน (vicine) 
          ส่วนการทดลองทางคลินิกมีรายงานว่าน้ำคั้นจากมะระขี้นก ๕๐ มิลลิลิตร และ ๑๐๐ มิลลิลิตร เพิ่มความทนต่อน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ ได้ และยังพบเช่นเดิมในผู้ที่กินผลมะระแห้ง ๐.๒๓ กิโลกรัมต่อวันเป็นเวลา ๘-๑๑ สัปดาห์ และกินผงมะระขี้นกแห้ง ๕๐ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม เป็นเวลา ๗ วัน
          ความเป็นพิษ การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยของมะระขี้นก พบว่าเมล็ดมีสารโมมอร์คาริน (momorcharin) ประกอบที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลองคือ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนูถีบจักร ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่มีผลกระทบต่อเซลล์ของตัวอ่อนในระยะสร้างอวัยวะ ทำให้ส่วนหัว ลำตัว และขามีรูปร่างผิดปกติ แต่เมล็ดก็สามารถแยกส่วนออกไปได้ง่าย ดังนั้น จึงน่าจะมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พอสมควร     
          มะระขี้นกจึงเป็นพืชผักสมุนไพรตัวแรกที่ควรส่งเสริมให้ใช้เป็นสมุนไพรคู่ใจ ผู้ป่วยเบาหวาน จากการที่มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดทั้งในสัตว์ ทดลองและในคนเป็นจำนวนมาก และรูปแบบวิธีใช้ที่ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดก็ไม่ซับซ้อน คือสามารถใช้ได้ทั้งน้ำคั้น ชงเป็นชา หรือกินในรูปแบบของแคปซูล ผงแห้ง ซึ่งจากประสบการณ์ของชาวบ้านไทยมีวิธีการใช้มะระขี้นกควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดดังนี้

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับยา ๑ : น้ำคั้นสด
นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล นำเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นให้ละเอียด กรองกากออกจะได้น้ำดื่มประมาณ ๑๐๐ มิลลิลิตร (หรือกินทั้งกากก็ได้) กินทุกวันติดต่อกัน แบ่งกินวันละ ๓ เวลา
ตำรับยา ๒ : ทำเป็นชา
นำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ ๑-๒ ชิ้น น้ำ ๑ ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา หรือจะต้มน้ำดื่มก็ได้ หรือใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มเป็นกระติกปริมาณมากก็สะดวกดื่มไปเรื่อยๆ แทนน้ำเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์ ไม่เกิน ๑ เดือนก็เห็นผลให้   
ตำรับยา ๓ : ทำเป็นแคปซูลหรือลูกกลอน
กินมะระขี้นก ๕๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๑-๒ ครั้ง
ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน


   ผักตำลึง
         ยาเบาหวาน คลานตามรั้ว


          ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt, Coccinia cordifolia Gagnep
          วงศ์ Cucurbitaceae
          ชื่ออื่นๆ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเต๊าะ (แม่ฮ่องสอน) ผักตำนิน (อีสาน)
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
          ตำลึงเป็นผักที่นิยมนำยอดมาลวกหรือนึ่ง เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงจืด แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดน้ำมัน ใส่ในแกงแค แกงปลาแห้ง ผลอ่อนนำมานึ่งกิน ดองกินกับน้ำพริกได้ ผลอ่อนที่ก้านดอกเริ่มจะหลุดกินสดได้กรอบอร่อย ไม่ขม เป็นยาบำรุงสุขภาพ รักษาปากเป็นแผล ผลอ่อนที่ยังหนุ่มๆ อยู่จะมีรสขมต้องคั้นน้ำเกลือให้หายขมก่อนนำมาแกง ส่วนผลสุกคนกินได้ สัตว์ก็ชอบกิน
          นอกจากนี้ ตำลึงยังเป็นผักที่ใช้แทนผงชูรสได้ โดยนำใบทั้งแก่ทั้งอ่อนประมาณกำมือใส่ต้มไก่ ต้มปลา ต้มเป็ด จะมีรสชาติออกมาหวานนัวเหมือนกับใส่ผงชูรส
          ตำลึงมีวิตามินเอสูงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ และเหมาะกับคนผิวแห้งไม่มีน้ำมีนวล เพราะนอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้วยังมีวิตามินบี ๓ ที่ช่วยบำรุงผิวหนังได้เป็นอย่างดี
          ตำลึงเป็นผักที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มากคุณค่าทางโภชนาการ ให้แคลเซียมสูงน้องๆ นม การกินผักตำลึงเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง

การใช้ประโยชน์ทางยา
          ตำลึงเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หมามุ่ย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น
          ส่วนการกินตำลึงจะช่วยระบายท้อง ลดการอึดอัดท้องหลังกินอาหารเนื่องจากมีสารช่วยย่อยแป้ง และช่วยแก้ร้อนใน เป็นต้น
          ที่สำคัญคือตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และในตำราอายุรเวทก็มีการใช้เป็นยารักษาเบาหวานมานานนับพันปี ชาวเบงกอลในอินเดียใช้ตำลึงเป็นยาประจำวันสำหรับแก้โรคเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย
          สำหรับการรักษาเบาหวานด้วยตำลึงนั้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำลึงจำนวนมากและเป็นสมุนไพรที่น่าเชื่อ ถือได้มากที่สุดตัวหนึ่ง จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรลด น้ำตาลในเลือดของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด
          ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในคนและสัตว์ทดลอง
          สรรพคุณของตำลึงที่ช่วยลดน้ำตาล คือ ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละ ๕๐ กรัม (ครึ่งขีด) ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้
ข้อดีของตำลึงคือปลูกง่าย หาง่ายและราคาถูกกว่าโสมมากโดยเฉพาะในบ้านเรา

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับ ๑ : นำรากผักตำลึง รากผักหวานป่า รากฟักข้าว รากกุ่มน้ำ รากุ่มบก ต้มกินติดต่อกันไปเรื่อยๆ
ตำรับ ๒ : ข้อรากผักตำลึงฝนกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาผักตำลึงสับเป็นท่อนๆ ยาว ๒-๓ นิ้ว จำนวน ๑ กำมือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน ๑๕-๒๐ นาที นำมาดื่มเช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย ๗-๑๐ วัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด หรืออาจใช้ส่วนของต้น ใบ และราก ต้มรวมกันแทนเถาอย่างเดียวก็ได้
ตำรับ ๓ : นำ ยอดตำลึง ๑ กำมือหรือขนาดที่กินพออิ่มโรยเกลือหรือเหยาะน้ำปลา (เพื่อให้อร่อยพอกินได้) ห่อด้วยใบตอง นำไปเผาไฟให้สุกแล้วกินให้หมด หรือกินจนอิ่ม กินก่อนนอนติดต่อกัน ๓ เดือน
   


    ผักเชียงดา
         เกิดมาฆ่าน้ำตาล


          ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
          วงศ์ Asclepiadaceae
          ชื่ออื่น ผักจินดา ผักเซียงดา (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อยยาว เถาสีเขียว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ใบ เดี่ยว รูปกลมรี ท้องใบเขียวแก่กว่าหลังใบ ใบออกตรงข้อเป็นคู่ๆ
ดอกออกเป็นกระจุกแน่นสีขาวอมเขียว ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นฝักคู่


การใช้ประโยชน์อื่นๆ
          ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมากินเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
          ผักเชียงดานิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้อุ๊บรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียวเพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน (แต่ก็มีบางคนชอบ)
          ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำผักเชียงดามาปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อเก็บยอดขาย เป็นเชิงการค้า เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และจันทบุรี สามารถพบผักเชียงดาขายอยู่ที่ตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่

การใช้ประโยชน์ทางยา
          ผักเชียงดาเป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพิ่มกำลังในการทำงานหนักและ ใช้เป็นยารักษาเบาหวานเช่นเดียวกับอินเดียและประเทศแถบเอเชียมานานกว่า ๒ พันปีแล้ว
          ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนัก เพราะว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็น ไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพบมีรายงานการศึกษาว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
          แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ คือ ๑ แคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัม
          การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒ กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้งก่อนอาหาร 

รายงานการศึกษาวิจัย
          นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ และปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคน ที่เป็นอาสาสมัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูบีตาเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒
          นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาดราส ประเทศอินเดียโดยศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูด้วยการให้สารพิษที่ทำลายบีตา เซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดา (ทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด) มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน ๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของบีตาเซลล์เพิ่มขึ้น
          ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการ ใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน และบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวสำหรับ การคุมระดับน้ำตาลในเลือด
          จากการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (hemoglobin A1c) ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือด ในช่วง ๒-๔ เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบา หวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมยัง เพิ่มขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก
          ปี พ.ศ.๒๕๔๔ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียง สูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสาระสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GiA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและมีปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่าง มาก
          ปี พ.ศ.๒๕๔๖ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลด น้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้ว ยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย ทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบอีกว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผน ปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า ไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide)
         นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
ผักเชียงดาไม่ได้ลดน้ำตาลในเลือดในคน และถ้าใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแต่อย่างใดยก เว้นการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ลดน้ำตาล

ตำรับยาแก้ไข้ แก้เบาหวาน
ใช้ราก เถา หรือใบ ตากแห้ง บด ชงเป็นชาดื่ม

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมอไทย สมุนไพรพุทธโอสถ

ในสมัยพุทธกาล เวลาพระพุทธเจ้าประชวรหรือพระสงฆ์อาพาธก็มักเสวยหรือฉันผลสมอไทยเป็นยาหลัก จนได้รับยกย่องว่าเป็นพุทธโอสถ ดังมีพระพุทธรูปปางทรงสมอปรากฏเป็นหลักฐาน ถ้าใครอ่านพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ชาวพุทธก็จะทราบว่าตอนที่พระองค์ประชวรครั้งสุดท้าย ก็ทรงเสวยผลสมอไทยเหลือไว้ครึ่งลูก และทรงพระราชทานผลสมอไทยครึ่งลูกนั้นแด่พระสงฆ์เป็นทานครั้งสุดท้าย



ดังนั้น ลูกสมอไทยที่ใส่กระทงวางขายอยู่แถวข้างวัด ข้างถนนจึงไม่ใช่สมุนไพรธรรมดาๆ อย่างที่คิด ถึงกับมีตำนานขานเล่าถึงกำเนิดของสมอไทยอันศักดิ์สิทธิ์ว่า ครั้งหนึ่งพระอินทร์กำลังทรงเสวยน้ำอมฤต บังเอิญน้ำอมฤตหยดหนึ่งหกลงมาบนพื้นโลก กลายเป็นต้นสมอไทย มีสรรพคุณแก้ได้สารพัดโรคและมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "โอสถทิพย์" หรือ "ผู้ให้กำเนิดชีวิต"

สมอไทยก็มีความพิเศษเหนือสมุนไพรอื่นๆ สมตำนานเล่าขาน คือเป็นสมุนไพรที่มีเกือบครบทุกรส ได้แก่ รสเปรี้ยว ฝาด หวาน ขม เผ็ด แถมยังมีรสเค็มและรสเมาแทรกอีกต่างหาก ตามตำรายาไทยกล่าวว่า รสของยาบ่งบอกสรรพคุณของยา อย่างกรณีของสมอนี้

รสเปรี้ยว มีสรรพคุณกัดเสมหะ แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้โรคท้องผูก ชำระล้างเมือกมันในลำไส้

รสฝาด ช่วยสมานแผลในปาก ไปจนถึงแผลในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องเสีย แก้บิด ซึ่งสรรพคุณของรสฝาดนั้นช่วยระงับการถ่าย (รู้ปิด) ตรงกันข้ามกับรสเปรี้ยวซึ่งช่วยให้ถ่าย (รู้เปิด) เมื่อลูกสมอไทยมีรสเปรี้ยวและรสฝาดผสานกัน จึงมีสรรพคุณเป็นทั้งยาระบายและยาระงับการถ่าย คือ รู้เปิด รู้ปิด ไปในตัว

รสหวาน บำรุงเนื้อ บำรุงกำลัง

รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ถอนพิษผิดสำแดง ช่วยเจริญอาหาร

รสเผ็ด ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ปวดท้องจุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร

รสเค็ม ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง แก้ประดงน้ำเหลืองเสีย

รสเมา แก้พิษฝี พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พยาธิต่างๆ แก้ริดสีดวง ระงับประสาท ทำให้นอนหลับสบาย




เนื่องจากสมอไทยมีหลายรสนี่เอง เมื่อกินสมอไทยอย่างเดียวก็เท่ากับกินสมุนไพรหลายๆ อย่าง
กล่าวกันว่า ถ้าใครกินสมอไทยวันละ 1 ลูก เป็นประจำทุกวัน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จะไม่มากล้ำกรายเลย

วิธีกิน เอาสมอไทย 1 ลูก แช่ในน้ำ 1 แก้ว เป็นเวลา 1 คืน ตื่นเช้ากินทั้งน้ำและเนื้อ เป็นยาบำรุงกำลัง โดยทั่วไปมักจะมีสรรพคุณบำรุงกำหนัดควบคู่กันไป แต่สมอไทยกลับตรงกันข้าม คือ แทนที่จะเพิ่มกลับลดกำหนัด ด้วยเหตุนี้เองกระมัง พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสมอไทยเป็นยาสำหรับพระสงฆ์สาวกฉันบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย โดยช่วยลดความกำหนัดไปในตัว

บรรดานักการเมืองที่กำหนัดในกามและอำนาจน่าจะลองกินลูกสมอไทยดูบ้าง จะได้มีกำลังทุ่มเททำงานเพื่อบ้านเมืองโดยปราศจากความกำหนัด

สรรพคุณเด่นอีกข้อของสมอไทยที่ควรขยายความในที่นี้คือ แก้โรคท้องผูก ยาทั่วไปอาจจะช่วยถ่ายท้องได้ แต่แก้โรคท้องผูกไม่ได้ มิหนำซ้ำถ้าหยุดยากลับจะทำให้ท้องผูกหนักขึ้น ในคนที่ท้องผูกเรื้อรังมักจะมีอาการร้อนใน ปากเปื่อย ตาไม่มีประกาย แม้จะกินผักผลไม้ กินน้ำ ออกกำลังกาย แล้วก็ยังไม่หายท้องผูก ควรจะหันมากินสมอไทยเพื่อช่วยให้โรคท้องผูกเรื้อรังหายไป เพราะสมอไทยไม่ใช่ยาถ่ายเท่านั้นแต่ยังช่วยชำระล้างลำไส้ให้สะอาด มีสมรรถภาพในการบีบตัว ขับถ่ายได้คล่องตัว

วิธีกินสมอไทย แก้โรคท้องผูกต้องกินวันละ 3-5 ลูกทุกวัน จนอาการท้องผูกหายไป จึงหยุดกินยา คนที่ผูกขาดอำนาจจนท้องผูกลองกินสมอไทย วิธีนี้ดูอาจจะได้ผล

ขอแถมอีกนิดว่าสำหรับผู้ที่มีอาการไอ เจ็บคอ เสียงแห้ง มีเสมหะติดคอ คันคอยิบๆ ให้เอาเนื้อลูกสมอไทยมาผสมเกลือและข่าแก่พอสมควร ตำสามสิ่งนี้ให้แหลกเข้ากันดี แล้วแบ่งอมขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ที่เหลือเก็บแช่ตู้เย็นไว้ใช้ต่อ อาการไอคันคอยิบๆ จะหายไป หลังจากอมยาต่อเนื่องราว 1 อาทิตย์ แถมยังได้เสียงใสๆ เล่นลูกคอร้องเพลงได้เหมือนเดิม

ที่มาจากหนังสือ มติชนสุดสัปดาห์