วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กล้วยหอม


ในกล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส (sucrose) ฟรักโทส (fructose) และกลูโคส (glucose) ให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันที โดยมีรายงานวิจัยยืนยันว่า กล้วยหอม 2 ใบให้พลังงานเพียงพอต่อการทำงานถึง 90 นาที

          เรื่อง นี้แฟนเทนนิสคงคุ้นตาภาพนักหวดระดับโลกกินกล้วยหอมระหว่างเกมการแข่งขัน อ้อ! แต่เขาไม่ได้กินรวดเดียว 2 ใบนะ ขืนทำงั้นคงกลายเป็นของกล้วยๆ ให้คู่ต่อสู้ได้ชัย นอกจากให้พลังงาน กล้วยหอมยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสำคัญคือช่วยให้คลายความเศร้าซึม

          จาก การสำรวจและวิจัยไต่ถามพร้อมสุ่มตัวอย่างจากคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเศร้าซึม พบว่าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้กินกล้วยหอม เพราะในกล้วยหอมมี tryptophan กรดอะมิโนโปรตีน ซึ่งร่างกายแปลงเป็น serotonin สารกระตุ้นที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุขมากยิ่งขึ้น

          ขณะ ที่ในสตรีช่วงก่อนมีประจำเดือน อารมณ์จะหงุดหงิดง่าย ไม่อยู่กับร่องรอย และก่อให้เกิดสภาวะต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ฯลฯ การกินกล้วยหอมช่วยได้ระดับหนึ่ง

          ช่วย สู้โรคโลหิตจาง ธาตุเหล็กในกล้วยหอมกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเฮโมโกลบินในกระแสโลหิต หยุดยั้งภาวะโลหิตจางได้ ส่วนที่เกี่ยวกับความดันโลหิต กล้วยหอมมีเกลือโพแทสเซียมเหลืองอยู่มาก เป็นตัวช่วยความดันเลือด ระดับที่หน่วยงานด้านอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้เป็นผลไม้ที่มี ส่วนช่วยลดภาวะความเสี่ยงความดันได้จริง

          กล้วย หอมยังมีประสิทธิภาพช่วยผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพราะวิตามินบี 6 บี 12 โพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่มีอยู่มาก ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสารนิโคติน ในผู้มีอาการเมาค้าง (ซึ่งไม่ควรมีเพราะไม่ควรเมา)

          สารวิตามิน จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานได้เร็วขึ้น และเพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด การกินกล้วยหอมสัก 1 - 2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้

          เส้น ใยในกล้วยหอมช่วยให้การย่อยของลำไส้เล็กทำงานดีขึ้น ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดี ลดปัญหาท้องผูก และสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีอยู่ยังช่วย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แต่อีกด้านกรดต่างๆ ที่มีอยู่ทำให้มีการเคลือบผิวของกระเพาะ ลดการเป็นแผลในกระเพาะได้

          ส่วน ภายนอก บรรเทาแผลยุงกัด หลังยุงกัดจนได้ตุ่มแดง ก่อนใช้ยาทาลองใช้เปลือกกล้วยหอมด้านในถูบริเวณที่ถูกยุงกัด ช่วยลดอาการคันหรือบวม

          อ้วน จากทำงานมากเกินไป กล้วยหอมก็ช่วยได้ สถาบันจิตวิทยาในออสเตรียศึกษาและพบว่า ความเครียดจากที่ทำงานทำให้คนกินช็อกโกแลตและพวกโปเตโตชิพส์มากเกินไป และนั่นทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็นกินกล้วยหอมสักเล็กๆ น้อยๆ ประมาณทุกๆ 2 ชั่วโมง จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดและลดการอยากกินของจุกจิก

          เสริม สร้างพลังสมอง ข้อนี้อ้างอิงจากงานวิจัยอังกฤษที่ระบุว่า ในแคว้นมิดเดิลเซกส์ มีนักเรียนจำนวน 200 คนจากโรงเรียนทวิกเคนแนม บอกว่าสอบผ่านเพราะได้กินกล้วยหอมเป็นอาหารเช้า รวมทั้งกินอีกนิดหน่อยในตอนมื้อเที่ยงเพื่อทำให้สมองสดชื่น โดยงานวิจัยพบว่าโพแทสเซียมในกล้วยหอมช่วยนักเรียนให้ตื่นตัวอยู่เสมอ

          การ รับประทานกล้วยหอมสุกเป็นประจำจะทำให้ร่างกายได้รับสารเพ็กติน โปรตีน วิตามินเอ วิตามินซี รวมถึงธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม บำรุงสายตาให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ยับยั้งการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก ลดการเกิดตะคริว และกล้วยหอมเป็นผลไม้เย็น ผ่อนร้อนได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรในโรคเบาหวาน


สมุนไพร... ในโรคเบาหวาน เบาหวาน จัด เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายมีกระบวนการเมตาบอลิซึม (ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน) ที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารไปใช้ตามปกติได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งอินซูลิน (Insulin) จากตับอ่อน หรือการทำงานของอินซูลินผิดปกติ
          อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อสร้างพลังงาน ร่างกายผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง ขึ้น
          เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ของร่างกายตามมาได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน ไตวาย และปลายประสาทเสื่อม ทำให้มีอาการชาซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลบริเวณอวัยวะส่วน ปลายได้  
          นอกจากนี้ เกิดความเสื่อมที่จอตา ทำให้ตาพร่ามัว เกิดต้อหินและต้อกระจก และถ้าหากรักษาไม่หายอาจทำให้พิการและเสียชีวิตได้
          ดังนั้น โรคเบาหวานจึงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกทำนายว่าปี พ.ศ.๒๕๖๘ จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง ๓๐๐ ล้านคน เพิ่มจากจำนวน ๑๔๐ ล้านคนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑

ประเภทของเบาหวาน
          เบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด
          โรคเบาหวานชนิดที่ ๑ เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อนในส่วนที่ทำหน้าที่สร้าง อินซูลินเป็นสาเหตุให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๑ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินตั้งแต่เริ่มเป็น จึงมักเรียกโรคเบาหวานชนิดนี้ว่าชนิดพึ่งอินซูลิน
          โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ เป็นเบาหวานที่พบมาก สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่อินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่เป็นปกติได้

สมุนไพรรักษาเบาหวาน
          วิธีการดูแลรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญคือการคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกายเพื่อให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและช่วยคุมน้ำหนัก การกินอาหารเพื่อให้ได้ทั้งพลังงานและผลดีต่อสุขภาพ การกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอและการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง
          ในส่วนการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาลนั้น เป็นการรักษาเพื่อให้มีอินซูลินออกมาให้พอเพียงที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดลง มาสู่ปกติ แต่ไม่ได้เป็นการยับยั้งการดำเนินโรคของเบาหวาน ซึ่งจะมีการสร้างอินซูลินลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งไม่สามารถกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอที่จะลด ระดับน้ำตาลในเลือดได้ สุดท้ายต้องพึ่งการฉีดอินซูลิน
          การแสวงหาทางออกเพื่อยืดระยะเวลาการไปถึงจุดนั้นจึงมีอยู่เป็นปกติของผู้ ป่วยโรคนี้ เป็นเหตุให้สมุนไพรได้รับความนิยมจากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหลาย รวมทั้งยังมีผู้คนอีกจำนวนมากเข้าใจผิดว่าโรคเบาหวานสามารถรักษาให้หายขาด ได้ด้วยสมุนไพร
          การใช้สมุนไพรนั้นมิใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียว เนื่องสมุนไพรหลายชนิดมีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งยังพบประโยชน์ของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเลือด หรือช่วยให้มีการไหลเวียนของหลอดเลือดเล็กๆ ส่วนปลายดีขึ้น มีวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์อีกด้วย
          ดังนั้น การรู้เรื่องของโรคและรู้จักสมุนไพรให้ดีจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นและลดค่ายาแผนปัจจุบันที่ประเทศไทยต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ถือเป็นการช่วยชาติอย่างหนึ่ง แต่ขอย้ำว่าต้องอยู่บน “พื้นฐานของความรู้” ซึ่งมีหลักการเลือกใช้สมุนไพร ดังนี้
•    เป็นพืชผักที่กินกันอยู่แล้ว หาง่าย มีความปลอดภัยสูง
•    มีรายงานการศึกษาสนับสนุนว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและมีส่วนช่วยคุมน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
•    มีประโยชน์อื่นๆ นอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน
•    มีการยอมรับและใช้ระดับสากล แพร่หลายในตลาดอาหารสุขภาพ   
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สมุนไพรที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ มะระขี้นก ตำลึง และผักเชียงดา

      มะระขี้นก
         
ขม ขรุขระ ชนะเบาหวาน


           ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia (L.)
           วงศ์ Cucurbitaceae
           ชื่ออื่นๆ ผัก ไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) Bitter Cucumber

          ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยอายุปีเดียว มีมือเกาะเป็นเส้นยาวออกตรงข้ามใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปฝ่ามือ กว้างและยาวประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึก ๕-๗ แฉก เนื้อใบบาง ก้านใบยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ แยกเป็นดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลเป็นรูปรี หัวท้ายแหลม ผิวขรุขระ มีรสขมจัด ผลแก่จัดจะมีสีแดง มะระเป็นพืชที่ขึ้นง่ายตามป่า และสามารถนำมาปลูกเป็นพืชสวนครัวได้ 
          การใช้ประโยชน์อื่นๆ มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย คนไทยทุกภาคนำยอดอ่อนและผลอ่อนมาปรุงเป็นอาหารโดยนำมาลวกเป็นผักจิ้ม อาจจะนำไปผัดหรือแกงร่วมกับผักอื่นแต่นิยมลวกน้ำและเทน้ำทิ้งก่อนเพื่อลด ความขม มีวิตามินเอและซีสูง ในส่วนของจีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ก็กินเป็นผักเช่นเดียวกัน โดยอินเดียจะปรุงเป็นแกง ศรีลังกานำไปปรุงเป็นผักดอง อินโดนีเซียกินเป็นผักสด
          การใช้ประโยชน์ทางยา มีการนำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน พบในตำรับยาพื้นบ้านของทางอินเดียและศรีลังกา ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศอินเดีย แพทย์แผนเดิมของพม่าและแพทย์จีน มีการสั่งจ่ายมะระขี้นกเป็นสมุนไพรเดี่ยวให้กับผู้ป่วยเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย
          สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด มีรายงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง และผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
          จากผลการวิจัยสรุปว่ามะระมีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดคือ อินซูลิน คาแรนทิน (charantin) และไวซีน (vicine) 
          ส่วนการทดลองทางคลินิกมีรายงานว่าน้ำคั้นจากมะระขี้นก ๕๐ มิลลิลิตร และ ๑๐๐ มิลลิลิตร เพิ่มความทนต่อน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ ได้ และยังพบเช่นเดิมในผู้ที่กินผลมะระแห้ง ๐.๒๓ กิโลกรัมต่อวันเป็นเวลา ๘-๑๑ สัปดาห์ และกินผงมะระขี้นกแห้ง ๕๐ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม เป็นเวลา ๗ วัน
          ความเป็นพิษ การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยของมะระขี้นก พบว่าเมล็ดมีสารโมมอร์คาริน (momorcharin) ประกอบที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลองคือ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนูถีบจักร ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่มีผลกระทบต่อเซลล์ของตัวอ่อนในระยะสร้างอวัยวะ ทำให้ส่วนหัว ลำตัว และขามีรูปร่างผิดปกติ แต่เมล็ดก็สามารถแยกส่วนออกไปได้ง่าย ดังนั้น จึงน่าจะมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พอสมควร     
          มะระขี้นกจึงเป็นพืชผักสมุนไพรตัวแรกที่ควรส่งเสริมให้ใช้เป็นสมุนไพรคู่ใจ ผู้ป่วยเบาหวาน จากการที่มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดทั้งในสัตว์ ทดลองและในคนเป็นจำนวนมาก และรูปแบบวิธีใช้ที่ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดก็ไม่ซับซ้อน คือสามารถใช้ได้ทั้งน้ำคั้น ชงเป็นชา หรือกินในรูปแบบของแคปซูล ผงแห้ง ซึ่งจากประสบการณ์ของชาวบ้านไทยมีวิธีการใช้มะระขี้นกควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดดังนี้

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับยา ๑ : น้ำคั้นสด
นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล นำเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นให้ละเอียด กรองกากออกจะได้น้ำดื่มประมาณ ๑๐๐ มิลลิลิตร (หรือกินทั้งกากก็ได้) กินทุกวันติดต่อกัน แบ่งกินวันละ ๓ เวลา
ตำรับยา ๒ : ทำเป็นชา
นำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ ๑-๒ ชิ้น น้ำ ๑ ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา หรือจะต้มน้ำดื่มก็ได้ หรือใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มเป็นกระติกปริมาณมากก็สะดวกดื่มไปเรื่อยๆ แทนน้ำเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์ ไม่เกิน ๑ เดือนก็เห็นผลให้   
ตำรับยา ๓ : ทำเป็นแคปซูลหรือลูกกลอน
กินมะระขี้นก ๕๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๑-๒ ครั้ง
ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน


   ผักตำลึง
         ยาเบาหวาน คลานตามรั้ว


          ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt, Coccinia cordifolia Gagnep
          วงศ์ Cucurbitaceae
          ชื่ออื่นๆ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเต๊าะ (แม่ฮ่องสอน) ผักตำนิน (อีสาน)
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
          ตำลึงเป็นผักที่นิยมนำยอดมาลวกหรือนึ่ง เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงจืด แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดน้ำมัน ใส่ในแกงแค แกงปลาแห้ง ผลอ่อนนำมานึ่งกิน ดองกินกับน้ำพริกได้ ผลอ่อนที่ก้านดอกเริ่มจะหลุดกินสดได้กรอบอร่อย ไม่ขม เป็นยาบำรุงสุขภาพ รักษาปากเป็นแผล ผลอ่อนที่ยังหนุ่มๆ อยู่จะมีรสขมต้องคั้นน้ำเกลือให้หายขมก่อนนำมาแกง ส่วนผลสุกคนกินได้ สัตว์ก็ชอบกิน
          นอกจากนี้ ตำลึงยังเป็นผักที่ใช้แทนผงชูรสได้ โดยนำใบทั้งแก่ทั้งอ่อนประมาณกำมือใส่ต้มไก่ ต้มปลา ต้มเป็ด จะมีรสชาติออกมาหวานนัวเหมือนกับใส่ผงชูรส
          ตำลึงมีวิตามินเอสูงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ และเหมาะกับคนผิวแห้งไม่มีน้ำมีนวล เพราะนอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้วยังมีวิตามินบี ๓ ที่ช่วยบำรุงผิวหนังได้เป็นอย่างดี
          ตำลึงเป็นผักที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มากคุณค่าทางโภชนาการ ให้แคลเซียมสูงน้องๆ นม การกินผักตำลึงเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง

การใช้ประโยชน์ทางยา
          ตำลึงเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หมามุ่ย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น
          ส่วนการกินตำลึงจะช่วยระบายท้อง ลดการอึดอัดท้องหลังกินอาหารเนื่องจากมีสารช่วยย่อยแป้ง และช่วยแก้ร้อนใน เป็นต้น
          ที่สำคัญคือตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และในตำราอายุรเวทก็มีการใช้เป็นยารักษาเบาหวานมานานนับพันปี ชาวเบงกอลในอินเดียใช้ตำลึงเป็นยาประจำวันสำหรับแก้โรคเบาหวาน

รายงานการศึกษาวิจัย
          สำหรับการรักษาเบาหวานด้วยตำลึงนั้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำลึงจำนวนมากและเป็นสมุนไพรที่น่าเชื่อ ถือได้มากที่สุดตัวหนึ่ง จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรลด น้ำตาลในเลือดของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด
          ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในคนและสัตว์ทดลอง
          สรรพคุณของตำลึงที่ช่วยลดน้ำตาล คือ ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละ ๕๐ กรัม (ครึ่งขีด) ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้
ข้อดีของตำลึงคือปลูกง่าย หาง่ายและราคาถูกกว่าโสมมากโดยเฉพาะในบ้านเรา

ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน
ตำรับ ๑ : นำรากผักตำลึง รากผักหวานป่า รากฟักข้าว รากกุ่มน้ำ รากุ่มบก ต้มกินติดต่อกันไปเรื่อยๆ
ตำรับ ๒ : ข้อรากผักตำลึงฝนกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาผักตำลึงสับเป็นท่อนๆ ยาว ๒-๓ นิ้ว จำนวน ๑ กำมือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน ๑๕-๒๐ นาที นำมาดื่มเช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย ๗-๑๐ วัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด หรืออาจใช้ส่วนของต้น ใบ และราก ต้มรวมกันแทนเถาอย่างเดียวก็ได้
ตำรับ ๓ : นำ ยอดตำลึง ๑ กำมือหรือขนาดที่กินพออิ่มโรยเกลือหรือเหยาะน้ำปลา (เพื่อให้อร่อยพอกินได้) ห่อด้วยใบตอง นำไปเผาไฟให้สุกแล้วกินให้หมด หรือกินจนอิ่ม กินก่อนนอนติดต่อกัน ๓ เดือน
   


    ผักเชียงดา
         เกิดมาฆ่าน้ำตาล


          ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
          วงศ์ Asclepiadaceae
          ชื่ออื่น ผักจินดา ผักเซียงดา (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป ไม้เถาเลื้อยยาว เถาสีเขียว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ใบ เดี่ยว รูปกลมรี ท้องใบเขียวแก่กว่าหลังใบ ใบออกตรงข้อเป็นคู่ๆ
ดอกออกเป็นกระจุกแน่นสีขาวอมเขียว ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นฝักคู่


การใช้ประโยชน์อื่นๆ
          ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมากินเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
          ผักเชียงดานิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้อุ๊บรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียวเพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน (แต่ก็มีบางคนชอบ)
          ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำผักเชียงดามาปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อเก็บยอดขาย เป็นเชิงการค้า เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และจันทบุรี สามารถพบผักเชียงดาขายอยู่ที่ตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่

การใช้ประโยชน์ทางยา
          ผักเชียงดาเป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพิ่มกำลังในการทำงานหนักและ ใช้เป็นยารักษาเบาหวานเช่นเดียวกับอินเดียและประเทศแถบเอเชียมานานกว่า ๒ พันปีแล้ว
          ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนัก เพราะว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็น ไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพบมีรายงานการศึกษาว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
          แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ คือ ๑ แคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัม
          การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒ กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้งก่อนอาหาร 

รายงานการศึกษาวิจัย
          นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ และปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคน ที่เป็นอาสาสมัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูบีตาเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒
          นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาดราส ประเทศอินเดียโดยศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูด้วยการให้สารพิษที่ทำลายบีตา เซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดา (ทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด) มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน ๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของบีตาเซลล์เพิ่มขึ้น
          ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการ ใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน และบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวสำหรับ การคุมระดับน้ำตาลในเลือด
          จากการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (hemoglobin A1c) ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือด ในช่วง ๒-๔ เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบา หวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมยัง เพิ่มขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก
          ปี พ.ศ.๒๕๔๔ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียง สูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสาระสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GiA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและมีปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่าง มาก
          ปี พ.ศ.๒๕๔๖ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลด น้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้ว ยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย ทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบอีกว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผน ปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า ไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide)
         นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
ผักเชียงดาไม่ได้ลดน้ำตาลในเลือดในคน และถ้าใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแต่อย่างใดยก เว้นการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ลดน้ำตาล

ตำรับยาแก้ไข้ แก้เบาหวาน
ใช้ราก เถา หรือใบ ตากแห้ง บด ชงเป็นชาดื่ม

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมอไทย สมุนไพรพุทธโอสถ

ในสมัยพุทธกาล เวลาพระพุทธเจ้าประชวรหรือพระสงฆ์อาพาธก็มักเสวยหรือฉันผลสมอไทยเป็นยาหลัก จนได้รับยกย่องว่าเป็นพุทธโอสถ ดังมีพระพุทธรูปปางทรงสมอปรากฏเป็นหลักฐาน ถ้าใครอ่านพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ชาวพุทธก็จะทราบว่าตอนที่พระองค์ประชวรครั้งสุดท้าย ก็ทรงเสวยผลสมอไทยเหลือไว้ครึ่งลูก และทรงพระราชทานผลสมอไทยครึ่งลูกนั้นแด่พระสงฆ์เป็นทานครั้งสุดท้าย



ดังนั้น ลูกสมอไทยที่ใส่กระทงวางขายอยู่แถวข้างวัด ข้างถนนจึงไม่ใช่สมุนไพรธรรมดาๆ อย่างที่คิด ถึงกับมีตำนานขานเล่าถึงกำเนิดของสมอไทยอันศักดิ์สิทธิ์ว่า ครั้งหนึ่งพระอินทร์กำลังทรงเสวยน้ำอมฤต บังเอิญน้ำอมฤตหยดหนึ่งหกลงมาบนพื้นโลก กลายเป็นต้นสมอไทย มีสรรพคุณแก้ได้สารพัดโรคและมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "โอสถทิพย์" หรือ "ผู้ให้กำเนิดชีวิต"

สมอไทยก็มีความพิเศษเหนือสมุนไพรอื่นๆ สมตำนานเล่าขาน คือเป็นสมุนไพรที่มีเกือบครบทุกรส ได้แก่ รสเปรี้ยว ฝาด หวาน ขม เผ็ด แถมยังมีรสเค็มและรสเมาแทรกอีกต่างหาก ตามตำรายาไทยกล่าวว่า รสของยาบ่งบอกสรรพคุณของยา อย่างกรณีของสมอนี้

รสเปรี้ยว มีสรรพคุณกัดเสมหะ แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้โรคท้องผูก ชำระล้างเมือกมันในลำไส้

รสฝาด ช่วยสมานแผลในปาก ไปจนถึงแผลในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องเสีย แก้บิด ซึ่งสรรพคุณของรสฝาดนั้นช่วยระงับการถ่าย (รู้ปิด) ตรงกันข้ามกับรสเปรี้ยวซึ่งช่วยให้ถ่าย (รู้เปิด) เมื่อลูกสมอไทยมีรสเปรี้ยวและรสฝาดผสานกัน จึงมีสรรพคุณเป็นทั้งยาระบายและยาระงับการถ่าย คือ รู้เปิด รู้ปิด ไปในตัว

รสหวาน บำรุงเนื้อ บำรุงกำลัง

รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ถอนพิษผิดสำแดง ช่วยเจริญอาหาร

รสเผ็ด ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ปวดท้องจุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร

รสเค็ม ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง แก้ประดงน้ำเหลืองเสีย

รสเมา แก้พิษฝี พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พยาธิต่างๆ แก้ริดสีดวง ระงับประสาท ทำให้นอนหลับสบาย




เนื่องจากสมอไทยมีหลายรสนี่เอง เมื่อกินสมอไทยอย่างเดียวก็เท่ากับกินสมุนไพรหลายๆ อย่าง
กล่าวกันว่า ถ้าใครกินสมอไทยวันละ 1 ลูก เป็นประจำทุกวัน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จะไม่มากล้ำกรายเลย

วิธีกิน เอาสมอไทย 1 ลูก แช่ในน้ำ 1 แก้ว เป็นเวลา 1 คืน ตื่นเช้ากินทั้งน้ำและเนื้อ เป็นยาบำรุงกำลัง โดยทั่วไปมักจะมีสรรพคุณบำรุงกำหนัดควบคู่กันไป แต่สมอไทยกลับตรงกันข้าม คือ แทนที่จะเพิ่มกลับลดกำหนัด ด้วยเหตุนี้เองกระมัง พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสมอไทยเป็นยาสำหรับพระสงฆ์สาวกฉันบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย โดยช่วยลดความกำหนัดไปในตัว

บรรดานักการเมืองที่กำหนัดในกามและอำนาจน่าจะลองกินลูกสมอไทยดูบ้าง จะได้มีกำลังทุ่มเททำงานเพื่อบ้านเมืองโดยปราศจากความกำหนัด

สรรพคุณเด่นอีกข้อของสมอไทยที่ควรขยายความในที่นี้คือ แก้โรคท้องผูก ยาทั่วไปอาจจะช่วยถ่ายท้องได้ แต่แก้โรคท้องผูกไม่ได้ มิหนำซ้ำถ้าหยุดยากลับจะทำให้ท้องผูกหนักขึ้น ในคนที่ท้องผูกเรื้อรังมักจะมีอาการร้อนใน ปากเปื่อย ตาไม่มีประกาย แม้จะกินผักผลไม้ กินน้ำ ออกกำลังกาย แล้วก็ยังไม่หายท้องผูก ควรจะหันมากินสมอไทยเพื่อช่วยให้โรคท้องผูกเรื้อรังหายไป เพราะสมอไทยไม่ใช่ยาถ่ายเท่านั้นแต่ยังช่วยชำระล้างลำไส้ให้สะอาด มีสมรรถภาพในการบีบตัว ขับถ่ายได้คล่องตัว

วิธีกินสมอไทย แก้โรคท้องผูกต้องกินวันละ 3-5 ลูกทุกวัน จนอาการท้องผูกหายไป จึงหยุดกินยา คนที่ผูกขาดอำนาจจนท้องผูกลองกินสมอไทย วิธีนี้ดูอาจจะได้ผล

ขอแถมอีกนิดว่าสำหรับผู้ที่มีอาการไอ เจ็บคอ เสียงแห้ง มีเสมหะติดคอ คันคอยิบๆ ให้เอาเนื้อลูกสมอไทยมาผสมเกลือและข่าแก่พอสมควร ตำสามสิ่งนี้ให้แหลกเข้ากันดี แล้วแบ่งอมขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ที่เหลือเก็บแช่ตู้เย็นไว้ใช้ต่อ อาการไอคันคอยิบๆ จะหายไป หลังจากอมยาต่อเนื่องราว 1 อาทิตย์ แถมยังได้เสียงใสๆ เล่นลูกคอร้องเพลงได้เหมือนเดิม

ที่มาจากหนังสือ มติชนสุดสัปดาห์ 

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ย่านาง

ย่านางเป็น พืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารและเป็นยามาตั้งแต่โบราณหมอยาโบราณภาคอีสาน เรียกชื่อยาของย่านางว่า “หมื่นปีไม่แก่”    พบความมหัศจรรย์ของย่านางครั้ง แรก เมื่อคุณแม่ของเขาคนหนึ่งตกเลือดจากมดลูกอย่างรุนแรง หลังจากที่เขาตัดสินใจใช้ย่านาง เป็นสมุนไพรหลักในการบำบัดอาการของคุณแม่ก็ทุเลาอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน เลือดหยุดไหล เมื่อใช้ย่านางอีกบำบัดต่อเนื่องอีก 3 เดือนต่อมา มดลูกที่โต 16 เซนติเมตรก็ยุบลงเหลือเท่าขนาดปกติ คือเท่าผลชมพู่ ผิวมดลูกที่ขรุขระเหมือนหนังคางคกก็หายไป อาการตกขาวก็หายไปด้วย



ต่อมาเขาทดลองใช้ย่านางกับผู้ป่วยมะเร็งตับ ผู้ป่วยก็อาการดีขึ้น เมื่อครบ 3 เดือนไปตรวจอัลตราซาวด์ พบว่ามะเร็งฝ่อลง จากนั้นก็ทดลองกับผู้ป่วยโรคเกาต์ให้ ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง 3 เดือน อาการปวดข้อก็หายไป ไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบโรคเกาต์ ซึ่งทางการแพทย์แผนปัจจุบัน บอกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง  หลังจากดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและลดความดันโลหิตได้ หลังจากนั้นเขาได้ข้อมูลจากคนแก่อายุ 77 ปีคนหนึ่งที่ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่องกัน 1 เดือน พบว่าผมที่เคยขาวกลับเปลี่ยนเป็นสีเทา และมีสีดำแซม ลูกสาวของคนแก่ดังกล่าวเป็นเชื้อราทำลายเล็บ รักษาด้วยการทาและกินยาแผนปัจจุบันไม่หาย พอดื่มน้ำย่านางได้ 10 วัน ก็ทุเลาอย่างรวดเร็ว
เขา ได้ทดลองให้น้ำย่านางกับผู้ป่วยอีกหลายโรคหลายอาการไม่ว่าเป็นอาการไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตุ่มผื่นคัน และอาการอื่นๆ ก็พบว่าอาการทุเลาอย่างรวดเร็ว เขาได้ข้อมูลจากผู้ป่วยหลายคนที่นำย่านางไปใช้บำบัดรักษาโรคพบว่า ไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายที่รักษายาก หรือโรคที่รักษาง่ายหลายโรคหลายอาการย่านางสามารถบำบัดรักษาให้ทุเลาเบาบาง หรือหายได้  ดังนั้น เขาจึงได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับย่านาง เผื่อว่าย่านางอาจจะเป็นส่วนที่ช่วยบำบัด บรรเทาทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บของญาติพี่น้องของเพื่อนร่วมโลกได้บ้าง
ประสบการณ์การใช้ตามแนวธรรมชาติ
จากประสบการณ์คนที่ได้ใช้ใบย่านางกับผู้ป่วยพบว่า ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน  พบว่าใบย่านางเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในการป้องกันคุ้มครองรักษา และฟื้นฟูเซลล์ร่างกายของคนในยุคนี้ เพราะคนส่วนใหญ่จะมีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกินไป อันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่มีความเครียดสูง มักถูกบีบคั้น กดดันจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ให้ต้องแก่งแย่งแข่งขัน เร่งรีบ เร่งร้อน สิ่งแวดล้อมถูกทำลายก็มีมลพิษมากขึ้น ต้นไม้ที่ให้ออกซิเจน ร่มเย็น ให้ความชุ่มชื้นก็ถูกทำลายจนเหลือน้อย โลกจึงร้อนขึ้น อาหารและเครื่องดื่มปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการเริ่มผลิตทางการเกษตร ที่ใช้สารเคมีกันอย่างมากมายจนถึงการปรุงอาหาร ผู้คนอยู่กับเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยหลัก ที่ทำให้คนเจ็บป่วยด้วยภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกินไป
สถานการณ์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับเมื่อ 30-50 ปีที่ผ่านมา ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเครียด วิถี ชีวิตเรียบง่าย สงบ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน ไม่ต้องเร่งรีบเหมือนคนยุคนี้ สิ่งแวดล้อมมีมลพิษน้อย ป่าไม้ก็มีมาก แม่น้ำลำธารใสสะอาด อาหารการกินไม่มีสารเคมีเจือปน ตั้งแต่กระบวนการผลิตทางการเกษตร จนถึงกระบวนการปรุงอาหารก็ไร้สารพิษ ปรุงแต่งน้อย รสไม่จัดจ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ค่อยมี ผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้น จึงมักมีภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกินไป
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกินไป ซึ่งสามารถใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาได้ มีดังต่อไปนี้
1.     ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา
2.     มีสิว ฝ้า
3.     มีตุ่ม แผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
4.     นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
5.     ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขน ขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
6.     ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
7.     มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง มีรอยจ้ำเขียว  คล้ำ
8.    ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
9.    กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อยๆ
10.  ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย
11.  ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย
12.  ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้ง มีท้องเสียแทรก
13.  ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมาด้วย มักมีปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2 (คนที่ร่างกายปกติ สมดุล จะไม่ตื่นปัสสาวะกลางดึก)
14.   ออกร้อนท้อง แสบท้อง บางครังมีอาการ ท้องอืดร่วมด้วย
15.   มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16.   เป็นเริม งูสวัด
17.   หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีเสมหะพันคอ
18.   โดยสารยานยนต์ มักอ่อนเพลียและหลับขณะเดินทาง
19.   เลือดกำเดาออก
20.   มักง่วงนอน หลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21.   เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22.   เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ อักเสบ บวมแดงที่โคนเล็บ
23.   หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับ หรืออากาศร้อนหรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
24.   เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟช็อต หรือร้อนเหมือนไฟเผา
25.   อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26.   รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27.   เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมากถ้าเป็นมากจะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28.   เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
29.   หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
30.   ส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า  ออกร้อน บางครั้งเหมือนไฟช็อต
31.   เกร็ง ชัก
32.   โรคที่เกิดจากสมดุลแบบร้อนเกินไป ได้แก่ โรคหัวใจ เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันสูง เบาหวาน เนื้องอก มะเร็ง พิษของแมลงสัตว์กัดต่อย


วิธีใช้
ใช้ ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกินไป ดังนี้
1.   เด็กใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-600 ซีซี.)
2.   ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
3.   ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
4.   ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น  (แต่การปั่นในเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำงายความเย็นของใบย่านาง) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ ½-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากทำน้ำใบย่านาง เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม จะทำให้เกิด ภาวะร้อนเกินไป แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลัก
5.   การทำน้ำย่านางอาจผสมน้ำมะพร้าว หรือน้ำเล็กน้อย เพื่อผลทางยาหรือช่วยให้ดื่มง่ายขึ้น
6.   บางคนเป็นโรคหรือมีอาการหนักมาก บางครั้งย่านางเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ทุเลาได้ ให้ใช้พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาช่วยเสริม โดยนำมาขยี้ โขลกหรือปั่นรวมกับย่านาง พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาเสริมฤทธิ์ย่านางที่มีประสิทธิภาพดีได้แก่ ใบอ่อมแซ่บ 1 กำมือ ใบเตย 1-3 ใบ ผักบุ้ง 5-10 ต้น บัวบก 1 กำมือ เสลดพังพอนตัวเมีย 5-10 ยอด (1 ยอด ยาว 1 คืบ) ใบตำลึงแก่ 1 กำมือ หญ้าปักกิ่ง 1-3 ต้น ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น โดยนำมาเสริมเท่าที่จะหาได้ พืชชนิดใดที่หาไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้  และถ้าพืชชนิดใดไม่ถูกกับผู้ที่จะดื่มก็ไม่ต้องมาผสม อาการของพืชที่ไม่ถูกกับร่างกาย คือ เมื่อรับประทานหรือสัมผัสพืชนั้นจะระคายคอ หรือมีอาการไม่สบายบางอย่าง พอผสมกันหลายอย่าง ก็รับประทานได้โดยไม่มีอาการผิดปกติ แต่บางคนแม้ผสมกันหลายอย่าง ก็ยังแสดงอาการผิดปกติอยู่ ก็ให้งดใช้พืชชนิดนั้นเสีย
7.   บางคนไม่ชินกับการรับประทานสด ก็สามารถผ่านไฟอุ่นหรือเดือดได้ไม่เกิน 5 นาที โดยตรวจสอบร่างกายของตนเองว่า ระหว่างรับประทานสดกับผ่านไฟ อย่างไหนรู้สึกสดชื่น สบายหรืออาการทุเลาได้มากกว่าก็ใช้วิธีนั้น
8.   คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ให้ดื่มน้ำย่านางหรือสมุนไพรรวมฤทธิ์เย็นกับกล้วยดิบและขมิ้น โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือก 1 ลูก แบ่งเป็น 3 ส่วน เท่าๆ กัน นำกล้วยดิบและขมิ้นอย่างละ 1 ชิ้น (ต่อครั้ง) โขลกให้ละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืน พร้อมดื่มน้ำย่านาง หรือสมุนไพรรวมฤทธิ์เย็น วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่ถ้ามีอาการออกร้อนท้องร่วมด้วยให้งดขมิ้น สำหรับกล้วยดิบ หรือขมิ้นอาจใช้เป็นลูกกลอกหรือแคปซูลก็ได้ ใช้กล้วยดิบครั้งละ 3-5 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร ส่วนขมิ้นใช้ครั้งละ 1-3 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร
9.   สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ให้ใช้ย่านางปริมาณที่เหมาะสมกับบุคคลดังที่นำเสนอข้างต้น ขยี้กับใบฝรั่งแก่ 3-5 ใบ หรือใบทับทิมครครึ่ง – 1 กำมือ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว ดื่มก่อนอาหาร ครั้งละครึ่ง – 1 แก้ว หรือดื่มบ่อยจนกว่าจะหายท้องเสีย ย่านางสามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย อีกสูตรหนึ่งที่ได้ผลดีมากคือ ดื่มน้ำย่านาง หรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ควบคู่กับสมุนไพรต้ม คือเอาเปลือกสะเดา (ส่วนที่มีรสฝาดขมกึ่งกลางระหว่างเปลือกแข็งนอกสุดและแก่น) ยาว 1 คืบของผู้ป่วย กว้าง 1-2 เซนติเมตร เปลือกมังคุดสดหรือตากแห้ง 1-3 ลูก ใบฝรั่งแก่ 3-5 ใบ ทั้งสามอย่าง รวมกัน ต้มใส่น้ำ 3-5 แก้ว เดือด 5-10 นาที แล้วผสมน้ำตาล 3-5 ช้อนโต๊ะ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือจิบเรื่อยๆ จนกว่าอาการท้องเสียจะหาย
10.   การใช้น้ำย่านางกับภายนอกร่างกาย
10.1   ใช้น้ำย่านางหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นเจือจางกับน้ำเปล่าใช้เช็ดตัวลดไข้ได้ อย่างดี หรือใช้ผ้าชุบวางบริเวณที่ปวดออกร้อน ช่วยลดความร้อนของร่างกายและผิวหนัง
10.2   ผสมน้ำยาสระผม ใช้สระผมได้อย่างดี ช่วยให้ศรีษะเย็น ผมดกดำหรือชะลอผมหงอก
10.3   ใช้ย่านางหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฝ้า ตุ่ม ผื่น คัน พอกฝีหนัง จะช่วยถอนพิษและแก้อักเสบได้
11.   การประเมินว่า ปริมาณหรือความเข้มข้นพอเหมาะที่จะดื่มหรือไม่
11.1   ขณะที่ดื่มเข้าไป จะกลืนง่ายไม่ฝืดฝืน ไม่ระคายคอ
11.2   อาการไม่สบายทุเลาลง ปากคอชุ่ม ร่างกายสดชื่น
11.3   ถ้าดื่มน้อยไป อาการก็ไม่ทุเลา ถ้าดื่มมากไปก็จะเกิดอาการไม่สบายบางอย่าง หรือในขณะดื่มจะรู้สึกได้ว่าร่างกายจะมีสภาพต้านบางอย่างเกิดขึ้น
12.   สำหรับท่านที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักสด ร่างกายก็จะขาดวิตามินและคลอโรฟิล ในใบย่านางมีวิตามิน คลอโรฟิลคุณภาพดี มีพลังสด พลังชีวิตประสิทธิภาพสูง ในการปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูเซลล์ของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม
หมายเหตุ
1. หลายครั้งที่การดื่มสมุนไพรเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ก็ควรจะทำอย่างอื่นเสริมในการปรับสมดุลร้อนหรือเย็นของร่างกายด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพยิ่งขึ้น เช่น การปรับสมดุลด้านอิทธิบาท อารมณ์ อาหาร การออกกำลังกาย อากาศ เอนกายและเอาพิษออก ซึ่งรายละเอียดของการปรับสมดุลร้อน-เย็น ไม่สมดุล โดยใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)
2. ถ้าไม่มีย่านางหรือร่างกายไม่ถูกกับย่านาง ก็สามารถใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นตัวอื่น ๆ แทนได้
ตัวอย่าง ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
1.   นางครั่ง มีทรัพย์ อายุ 53 ปี 28 หมู่ 7 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นเนื้องอกที่มดลูก มดลูกโต ตกเลือด มึนชา ปวดตามร่างกาย ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน อาการทุเลาตามลำดับ หลังจากปฏิบัติได้ 3 เดือน อาการดังกล่าวหายไป
2.   นางสมนึก ห้องแซง อายุ 67 ปี 51/386 หมู่ 1 ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นมะเร็งปอด ดื่มน้ำย่านาง พร้อมปรับสมดุลร้อน-เย็น ภายใน 3 เดือนผ่านไป  อาการทุเลาลงมาก ไปทำอัลตราซาวด์ พบว่าก้อนมะเร็งฝ่อลง
3.   นางทองจีน ยิ้มใส่ อายุ 45 ปี 109 หมู่ 10 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นมะเร็งตับ ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 3 เดือนผ่านไป อาการทุเลาตามลำดับลงมาก ไปทำอัลตราซาวด์ พบว่าก้อนมะเร็งฝ่อลง
4.   นางผัน ถนอมบุญ อายุ 45 ปี 109 หมู่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นมะเร็งมดลูก ดื่มน้ำย่านาพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกินได้ 2 สัปดาห์ อาการทุเลาลงมาก พอได้ 2 เดือน ไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบเซลล์มะเร็ง
5.   นางสาวสงัด สีน้ำเงิน อายุ 58 ปี 442 หมู่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นโรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกที่เต้านม ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 เดือน อาการทุเลาตามลำดับลงมาก เนื้องอกที่เต้านมยุบไป
6.   ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลอำนาจเจริญ จำนวน 40 คน มาเข้าค่ายสุขภาพที่ศูนย์ฝึกสวนส่างฝัน หลักสูตร 3 วัน มีการดื่มน้ำย่านาง กายบริหาร กินอาหารพืชผักผลไม้ไร้สารพิษโดยปรุงแต่งอาหารให้มีฤทธิ์เย็น มีการตรวจเลือดและตรวจร่างกายก่อนและหลังเข้าค่าย พบว่าผู้ป่วยมีค่าน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลง สมรรถภาพร่างกายก็โปร่ง โล่ง สดชื่น
7.   ท่านสมณะเด่นธรรม ธรรมรักขิตโต อายุ 62 ปี พุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพฯ เป็นภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะทุกวันเป็นมา 10 ปี หลังดื่มน้ำย่านางแลปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 สัปดาห์ อาการไม่สบายทั้งหมดทุเลาลงมาก
8.   นายเพื่อนพืช หมื่นยุทธ์ อายุ 28 ปี พุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพฯ เหงือกอักเสบอย่างรุนแรง  และเรื้อรังมา 4 ปี จนเคี้ยวอาหารปกติไม่ได้ ถึงขั้นต้องปั่นข้าวกิน หมอนัดผ่าตัด กำลังรอคิว กินน้ำย่านางและปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกินที่ศูนย์ฝึกสวนส่างฝันได้ 10 วัน อาการทุเลาลง 80% จึงทำให้ไม่ต้องผ่าตัด
9.   นายบุญชู คงสมจิตร อายุ 78 ปี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2549 มีอาการอัมพฤกษ์ ลุกนั่งไม่ได้ พลิกตัวไม่ได้ กระดิกแขนขาได้เล็กน้อย แขนขาอ่อนแรง  ก่อนหน้านั้นมีอาการร้อนใน ปัสสาวาน้อยและบ่อย สีเข้ม ปัสสาวะกลางคืน 8-9 ครั้ง ช่วงเที่ยงคืนถึงตีสามตาแดง ตาแห้ง ไข้ขึ้นบ่อย ท้องผูกบ่อย คอแห้ง ผิวตกกระเป็นจ้ำๆ เป็นเรื้อรังมา 5 ปี หลังจากที่กินน้ำย่านางผสมอ่อมแซบใบเตย หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ผักบุ้ง เสลดพังพอน และบัวบก พร้อมปฏิบัติตัวแก้ภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน 1 สัปดาห์ ผ่านไป แขนขาเริ่มมีกำลัง ผ่านไป 3 สัปดาห์ ลุกนั่งเองได้ 4 สัปดาห์ สามารถลุกเดินได้ อาการไข้หายไป ไม่มีท้องผูก ปากคอชุ่ม ผิวจ้ำดำคล้ำหายไป
10.   นางสาวหล่า โมงขุนทด อายุ 67 ปี พุทธสถานสีมาอโศก 254 หมู่ 5 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเริมและงูสวัดมา 1 เดือน กินน้ำย่านางและปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 สัปดาห์ อาการปวดแสบ ร้อนคันและตุ่มจากเริม งูสวัดหายไป
11.   นักเรียนสัมมาสิกขาสังฆสถานหินผาฝ้าน้ำ จังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 20 คน มีอาการท้องเสียพร้อมกันจากอาหารเป็นพิษ เมื่อขยี้ใบย่านางกับใบฝรั่งแก่ในน้ำสะอาดให้ดื่ม อาการก็ทุเลาและหายไป ภายใน 1-2 วัน
12.   นายคนอง ดวงจิตต์ อายุ 15 ปี นักเรียนสัมมาสิกขาราชธานีอโศก เป็นตุ่มผื่นคันที่แขน ดื่มน้ำย่านาง และเอาน้ำย่านางผสมปูนเครี้ยวหมากทา อาการทุเลาลง วันรุ่งขึ้น ตุ่มคันยุบหายไป
13.   นางสาวเศษฝัน ดวงมณี อายุ 28 ปี ปฏิบัติการศูนย์ฝึกสวนส่างฝัน เป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เมื่อดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลาลง วันรุ่งขึ้นก็หายเป็นปกติ
14.   ตัวผู้เขียนเองปวดท้องเฉียบพลัน เป็นประมาณ 1 ชั่วโมง พอดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลาลง และหายภายใน 5 นาที
15.   นางอัมพร ทองด้วง อายุประมาณ 40 ปี 149 หมุ่ 12 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ เป็นมา 1 ปีเศษ รักษาที่คลินิกและโรงพยาบาลหลายแห่งก็ไม่หาย เมื่อดื่มน้ำย่านางผสมใบเตยและผักบุ้ง อาการทุเลาอย่างมากภายใน 3 วัน ดื่มต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ ก็หายขาด
16.   นางสมัย เนากำแพง อายุ 42 ปี 196 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นไตอักเสบเรื้อรังมา 5 ปี เมื่อดื่มน้ำย่านางและปฏิบัติตัว แก้ภาวะร้อนเกินได้ 7 วัน อาการทุเลาจนเป็นปกติ
17.   นายดาว เนากำแพง อายุ 45 ปี 196 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ นอนกรนเป็นประจำ พอดื่มน้ำย่านางพร้อมกับรับประทานอาหารฤทธิ์เย็น อาการก็หายไปภายใน 1 สัปดาห์
18.   ชาวไร่อ้อยคนหนึ่งที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากตัดอ้อยจำนวนหลายไร่ มีอาการปวดชาที่แขน กินยาแผนปัจจุบันติดต่อเป็นเดือนก็ไม่ทุเลา พอดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลา จนหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
19.   คุณตู่ เจ้าของร้านอานนท์ประดับยนต์ 344/1 หมู่ 5 ถนนศรีษะเกศ-ขุขันธ์ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ เล็บมือผุ ถูกทำลายลุกลามไปครึ่งเล็บ ไปตรวจกับแพทย์แผนปัจจุบันพบว่าเป็นเชื้อรา ให้ยามารับประทานพร้อมยาทา เป็นเวลา 16 ปี อาการก็ไม่ทุเลา จึงหยุดยาแผนปัจจุบัน ทดลองดื่มน้ำย่านางได้ 15 วันอาการเริ่มทุเลา ดื่มได้ 1 เดือน อาการดีขึ้น จนเกือบเป็นปกติ
20.   นางจำปา สุวะไกร อายุ 33 ปี 106 หมู่ 5 ตำบลคึมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นโรคกะเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ไขมันพอกตับและตกขาวเรื้อรัง กินยาแผนปัจจุบัน อาการไม่ทุเลา เมื่อดื่มน้ำย่านาง กินหญ้าปักกิ่ง กล้วยดิบและขมิ้น และกินอาหารฤทธิ์เย็นสวนล้างลำไส้ใหญ่ อาการทุเลาภายใน 5 วัน เมื่อทำต่อเนื่องอาการต่าง ๆ ก็ดีขึ้น จนได้ 2 ปี ไปตรวจที่โรงพยาบาล ไม่พบไขมันพอกตับ
ยังมีกรณีตัวอย่างอีกมากมายที่ใช้ย่านางในการบำบัดรักษาสุขภาพ ซึ่งไม่สามารถนำเสนอได้หมดในที่นี้
ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทดลองใช้ย่านาง พืชสมุนไพรมหัศจรรย์ไทย ด้วยตัวของท่านเอง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะพอเป็นประโยชน์ต่อญาติพี่น้อง ผองเพื่อนร่วมโลกทุกๆ ท่าน