วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

เพชรสังฆาต สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวารหนัก

เพชรสังฆาต

สำหรับริดสีดวงทวาร คือ โรคที่เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นเส้นเลือดที่บริเวณปากทวารหนักที่เรียกว่า ริดสีดวงทวารภายนอก ถ้าเป็นเส้นเลือดที่ผนังท่อทวารหนัก จะเรียกว่า ริดสีดวงทวารภายใน  ส่วนอาการของ ริดสีดวงทวารระยะแรก อาจมีเพียงการถ่ายอุจจาระลำบาก คันก้น รู้สึกเจ็บเวลาถ่าย เดิน,นั่งลำบาก บางครั้งมีเลือดออกเวลาถ่ายหรือหลังการถ่ายอุจจาระ มีลักษณะเป็นเลือดสีแดงสดๆ ถ้าไม่ปรับปรุงพฤติกรรมหรือไม่ได้รับการรักษา อาการจะเห็นได้ชัดขึ้น คือ มีหัวริดสีดวงโผล่ออกมาที่ปากทวารหนักเป็นก้อนเนื้อนุ่มๆอักเสบ เจ็บปวดมากจนนั่งเก้าอี้หรือพื้นแข็งไม่ได้ มักพบในคนที่มีภาวะความกดดันของเส้นเลือดบริเวณทวารหนักนานๆ เช่น มีอาการท้องผูกบ่อยๆ ไอเรื้อรัง อ้วน หรือนั่งทำงานนานๆ เป็นต้น
ดังนั้นควรป้องกันและการดูแลตนเองมิให้โรคริดสีดวงทวาร ดังนี้
- ควรระวังอย่าให้ท้องผูกเรื้อรัง หรืออย่าเบ่งแรงๆ และนานมากเกินไป เวลาถ่ายอุจจาระ ควรรับประทานน้ำ ผัก ผลไม้ให้มากๆเพื่อไม่ให้ท้องผูก หรืออาจใช้ยาระบายช่วยเป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการมากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
- หากคุณเป็นโรคริดสีดวงแล้ว ควรป้องกันไม่ให้มีการอักเสบหรือติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยทำความสะอาดหลังอุจจาระด้วยสบู่และน้ำสะอาด การเช็ดแรงๆจะทำให้อักเสบและติดเชื้อโรคง่าย
- ถ้าปวดมากควรกินยาแก้ปวดและนั่งแช่ในน้ำอุ่น ผสมด่างทับทิม ประมาณ 15-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
- ถ้าเลือดออกบ่อยๆ ให้สังเกตว่าเยื่อบุตาและเนื้อใต้เล็บซีดกว่าคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าซีดควรไปพบแพทย์ทันที
- ถ้ามีเลือดออกนานเกิน 1 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยมีอายุเกิน 40 ปี ควรไปพบแพทย์เพราะอาจมีโรคอื่นๆร่วมด้วย

        เพราะฉะนั้นจึงมีสมุนไพรที่รักษาโรคริดสีดวงได้ คือ เพชรสังฆาต ควรใช้ลำต้นสดหรือแห้งครั้งละ 2-3 องคุลี (6-9 ซม.) เป็นเวลา 10-15 วันติดต่อกัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียกหรือเนื้อกล้วยสุกหุ้ม กลืนทั้งหมด เพราะเถาสดอาจทำให้คันคอหรือใช้ดองเหล้า 7 วัน รินเฉพาะส่วนน้ำดื่ม ควรกินติดต่อกันจนอาการดีขึ้น
ข้อควรระวัง ในต้นเพชรสังฆาตมีสารแคลเซียมออกซาเลท เป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก ทำให้ระคายเคืองลำคอได้เช่นเดียวกับบอน จึงนิยมสอดไส้ในกล้วยสุกหรือมะขามแล้วกลืนพร้อมกัน จะทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองลำคอ ในปัจจุบันมีผู้ใช้เถาแห้งบดเป็นผง และบรรจุแคปซูลรับประทานเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่ยังคงสามารถทำให้ผู้ใช้บางคนปวดท้องได้เช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ฟ้าทะลายโจร


ฟ้าทะลายโจร เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นสมุนไพรไทยมานาน ปัจจุบัน มีการนำฟ้าทะลายโจรมาทำเป็นยาลูกกลอน หรือ ใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการ กิน มีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยถึงสรรพคุณยา และได้พบสารเคมีในส่วน ต่าง ๆ ของพืชอยู่หลายชนิด รวมทั้งสาร Andrographolide ที่เป็นตัวยาสำคัญ ที่มีอยู่ในทุกส่วนคือ ราก ต้น ใบ และได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อจำแนกโรคที่ รักษาได้ดีให้ชัดเจน ซึ่งพบว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโรคได้หลายโรค อาทิ แก้ติด เชื้อทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ แก้อาการ ไอ เจ็บคอ หรือคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ทั่วไป เป็นยา ขมเจริญอาหาร เป็นต้น
ฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์ การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ ช่วย บรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่ เป็นหวัดบ่อย ๆ ร้อนในบ่อย ๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้าน ทาน อ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้ ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อน ในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรง ที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยังป้องกันตับจากสารพิษหลาย ชนิด เช่น จากยา แก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นส่วน ผสม
ฟ้า ทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตก กิ่ง ก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซม. ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ สีขาว มีรอบ ประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝัก ต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือรากใบ ทั้งต้น
การปลูกใช้เมล็ดโรยลงดิน กลบดินไม่ต้องลึกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม มักนิยมปลูกตอน ต้นฤดูฝน ไม่ชอบแดดจัดมาก หากอยู่ในที่แจ้งต้นจะเตี้ยใบเล็กหนา ในที่ร่มต้น จะสูง ใบใหญ่แต่บาง ควรปลูกในที่ไม่ร่มและไม่แจ้งนัก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้อง รดน้ำ แต่ ในฤดูแล้งควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกขึ้นได้หนึ่งต้น จนมีฝักแก่ เมล็ดจะกระจายออกไปขึ้นทั่วจนต้องถอนทิ้งบ้าง

ประโยชน์ด้านสมุนไพร ไทยใช้รักษาอาการ เจ็บคอใช้แก้อาการท้องเสีย และโรค อุจจาระร่วงเฉียบ พลันบรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำ ให้ร่างกาย แข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อย ๆ ให้หายเร็วขึ้นใช้เป็นยาภาย นอกเป็นยาพอกฝีรักษาแผลที่เป็นหนอง

วิธี การนำไปใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อน สั้น ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวัน ละ 3 ครั้ง แก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ ใช้ในรูปยาลูก กลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสม กับ น้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้ง ละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้า ทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลาย โจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝา ให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใน ขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อน อาหาร ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่ง ถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดีริน เอาน้ำดื่มกากที่เหลือใช้พอก แผล-ฝีแล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้   
สำหรับ ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ ป่วยที่มีความดันต่ำ และมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อ กินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติ อื่น ๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน ไป เนื่องจาก ฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป.

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

บัวบก


อาการ ปวดหัวที่เกิดจากความดันโลหิตสูงมีคนเป็นกันเยอะ เป็นแล้วจะปวดทรมานมาก ปวดจนหูตาลายไปหมด ทำงานทำการอะไรไม่ได้เลย ต้องกินยาระงับปวดที่แพทย์ผู้รักษาจ่ายให้อาการจึงจะทุเลาลงและหายได้ ในอดีตหรือสมัยโบราณหยูกยาหายาก โดยเฉพาะ ตามชนบทที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง ผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวจะเดินทางไปพบหมอตามสุขศาลา หรือแพทย์โรงพยาบาลในเมืองลำบากมาก ต้องใช้เวลานานครึ่งค่อนวันไม่ทันการณ์กับโรคที่เป็นอยู่ ดังนั้น สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่ชาวบ้านในยุคนั้นนิยมใช้แพร่หลาย โดยให้หมอยาพื้นบ้านเจียดยาไปกินหรือใช้ทำให้หายได้ ซึ่งสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการปวดหัวเนื่องมาจากสาเหตุของความดันโลหิตสูงมี หลายสูตร แต่ที่นิยมใช้กันมากเพราะได้ผลดี มีส่วนประกอบในการทำยาหาได้ง่าย ได้แก่ สูตร บัวบกนั่นเอง

          โดย มีวิธีทำ คือ ให้เอา บัวบกทั้ง ต้นรวมรากแบบสดๆ จำนวน 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ตำละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาวครึ่งลูก เติมน้ำตาลพอให้ได้รสหวานดื่มรวดเดียวจนหมด ในขณะที่มีอาการปวดหัวที่เกิดจากสาเหตุความดันโลหิตสูง จะช่วยให้อาการดีขึ้นและหายได้ ซึ่งสูตรดังกล่าวใช้กับอาการปวดหัวจากสาเหตุอื่นไม่ได้

          บัวบก หรือ ASIATIC PENNYWORTTIGER HERBAL CENTELLE ASIATICA (LINN) URBAN อยู่ในวงศ์ UMBELLIFERAE เป็น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีสรรพคุณเฉพาะคือ น้ำต้มใบสดดื่มรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยใช้ ใบสด 1 กำมือ ล้างน้ำให้ สะอาดตำละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูนน้อยลง

          สาร ที่ออกฤทธิ์คือ กรด MADECASSIC กรด ASIATICOSIDE ซึ่ง ช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ ซึ่งมีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้ดีด้วย นอกจากชื่อ บัวบกแล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกคือ ผักแว่น และ ผักหนอก (อีสาน)

          ประโยชน์ ทางอาหาร ใบและเถากินเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย แกงเผ็ด ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ น้ำคั้นจากใบสดทำเป็นเครื่องดื่ม ที่รู้จักกันดีและนิยมดื่มกันแพร่หลาย ได้แก่ น้ำใบบัวบกเชื่อกันว่าดื่มแล้วแก้ช้ำในดีนัก

          ส่วนใหญ่ผู้ขายชอบทำขายในช่วงฤดูร้อน ตักใส่แก้วขายดื่มแก้กระหายทำให้จิตใจชุ่มชื่นดีมาก

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ตรีผลา สมุนไพรต้านมะเร็ง

 

ตำรับยาตามแพทย์แผนไทยที่มีชื่อว่า ตรีผลา คนไทยทั่วไปอาจไม่คุ้นชื่อยาตำรับนี้

แต่ ในวงการแพทย์แผนไทยและแพทย์อายุรเวทอินเดีย ยาสมุนไพรตำรับนี้เป็นยาพื้นฐานที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล ว่าเป็นยาที่มีสรรพคุณช่วยรักษาความสมดุลธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย และเป็นยาที่ปลอดภัยไร้พิษข้างเคียงใดๆ

คุณประโยชน์ของยาตรีผลา เป็นตำรับยาตามแพทย์แผนไทย เพื่อล้างพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด และระบบน้ำเหลือง และเป็นยาที่ปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงใดๆ ชื่อ ตรีผลา ก็บอกความหมายอยู่แล้ว ตรี แปลว่า สาม ผลา(ผล) คือ ผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่างที่มาประกอบกันเข้าเป็นตำรับเดียวแบบทรีอินวัน ได้แก่ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก และมะขามป้อม



แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดกันก่อน ว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และมีสรรพคุณสุดยอดแค่ไหน 

สมอไทย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia chebula Retz. จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นในภาคต่างๆ ของประเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ผลสมอไทยจะรูปร่างป้อมๆ หรือรูปกระสวย มีเนื้อเยื่อหนาหุ้มเมล็ดซึ่งมีเมล็ดเดียวแข็งๆ ผลโต 2-3 ซ.ม. และยาว 3-4 ซ.ม. มีพูหรือเหลี่ยมตามยาวตัวผล 5 พู ผลแก่สีเขียวอมเหลือง แต่พอแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

นิยมใช้ผลแก่ซึ่งมีรสฝาดเปรี้ยวเนื่องจากมีสารพวกแทนนิน (tannin) จึงใช้เป็นยาสมาน แก้ลมจุกเสียด ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง เป็นยาชงอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย ใช้ภายนอกบดเป็นผงละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกเป็นแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษร้อนภายใน แก้ลมป่วง ระบายลม รู้ถ่ายรู้ปิดเอง คุมธาตุในตัวเสร็จ ถ่ายพิษไข้ สารสกัดจากสมอไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาสมุนไพร เนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิด ในขณะเดียวกันยังสามารถบำรุงสุขภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

ในประเทศอินเดีย สารสกัดจากสมอไทยใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร อาการอาหารไม่ย่อย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง โรคพยาธิ โรคหัวใจ อาการไข้เป็นระยะ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก แผลในทางเดินอาหาร อาเจียน อาการเจ็บปวดในลำไส้ และริดสีดวงทวารหนัก

นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส รวมทั้งเชื้อ HIV และแบคทีเรียบางชนิด บำรุงหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยการทำงานของตับในการกำจัดไขมันออกจากร่างกาย รวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกายได้อีกด้วย

และไม่ใช่แค่ผลสมอไทยเท่านั้นที่ใช้เป็นยาได้ ส่วนอื่นๆ ก็มีสรรพคุณทางยาด้วยเหมือนกัน โดยตามตำรับยาแผนโบราณ ทั้งต้นมีสรรพคุณแก้ท้องผูก เป็นยาสมาน ยาขับเสมหะ แก้อาการเสียวคอและหน้าอก เปลือกเป็นยาขับปัสสาวะ ยาบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ดอกใช้รักษาโรคบิด ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย โดยการจิ้มกับเกลือรับประทาน หรือรับประทานกับน้ำพริกก็ได้ เนื้อหุ้มเมล็ดใช้รักษาเกี่ยวกับน้ำดี ท้องร่วงเรื้อรัง บิด ท้องผูก ท้องขึ้น อืดเฟ้อ โรคหืด กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน อาเจียน อาการสะอึก พยาธิในลำไส้ โรคท้องมาน ตับและม้ามโต
 

สมอพิเภก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เป็นไม้ผลัดใบ มีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ผลมีลักษณะเป็นรูปแบบผลมะละกอ ตรงกลางค่อนข้างจะป่อง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซ.ม. ยาว 2.5-3 ซ.ม. มีอยู่ 5 เหลี่ยม ผิวนอกเป็นขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาทึบ

ส่วนที่นิยมใช้เป็นยาคือผลแก่ มีรสเปรี้ยว ฝาดหวาน เป็นยาระบาย บำรุงธาตุ แก้เสมหะจุกคอ แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวาร

 

มะขามป้อม มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus emblica Linn. จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ในป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง ผลมีลักษณะกลม มีรอยแยกแบ่งออกเป็น 6 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. ผิวนอกขรุขระมีสีน้ำตาล ส่วนหัวมีรอยขั้วก้านผล เนื้อผลเหนียวแตกยาก เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายใน ผลแห้งที่ดีควรมีขนาดใหญ่ อวบอิ่มและแห้งไม่มีก้านผลติดมา

นิยมใช้ผลแก่ซึ่งมีรสเปรี้ยว ฝาดขม เป็นยาแก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ปัจจุบันยังพบว่ามะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และแก้พิษสารตะกั่วได้ ตามตำรับยาแผนโบราณใช้เปลือกลำต้น โดยใช้เปลือกที่แห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียด โรยแก้บาดแผลเลือดออกและแผลฟกช้ำ ใบใช้ใบสดมาต้มกินแก้บวมน้ำ นำมาตำพอกหรือทาบริเวณแผล ผื่นคันมีน้ำหนองน้ำเหลือง และผิวหนังอักเสบ

ผลใช้ผลสดเป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ช่วยระบายขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟันและคอแห้ง ผลแห้งตำให้เป็นผงชงกิน แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือด ท้องเสีย โรคบิด แก้โรคดีซ่านและโรคโลหิตจาง รากต้มกินแก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน แก้ความดันโลหิตสูง และแก้ท้องเสีย

สำหรับสารสกัดจากสมอพิเภกและสารสกัดจากผลมะขามป้อมที่ใส่ลงในสูตรของยาตรีผลา ตามตำรับยาไทยโบราณเพื่อควบคุมผลข้างเคียงของกันและกัน ตำรับ สมุนไพรไทยอ้างว่า การรับประทานสารสกัดจากสมอไทย จะทำให้พิษต่างๆ รวมทั้งสารพิษตกค้าง ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยสิ้นเชิง และจะทำให้มีการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งขึ้นเพื่อเป็นการกวาดล้างทำความสะอาด ระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา

โดยส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้สมุนไพรตัวเดียวในการทำยาตำรับนี้ เนื่องจากต้องควบคุมพิษข้างเคียงของกันและกัน เช่น รสเปรี้ยว ซึ่งมีฤทธิ์ระบายของลูกสมอพิเภก อาจทำให้เกิดอาการมวนท้องจึงต้องใช้ลูกสมอไทยและลูกมะขามป้อมซึ่งมีรสฝาดและ ขม ช่วยแก้ลมจุกเสียดและลดอาการมวนท้อง เป็นต้น

ในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมฤทธิ์ระบายโดยไม่เป็นอันตราย เพราะยาตำรับนี้เป็นยาที่ควบคุมการถ่ายและการหยุดถ่ายโดยอัตโนมัติ ป้องกันมิให้ร่างกายอ่อนเพลีย ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงคนเฒ่าชรา ปัจจุบัน นี้ ตำรับยาตรีผลาเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการรับประทานเพื่อล้างพิษและลดน้ำหนัก เพราะตัวยาจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี และช่วยระบายไขมันออกมาพร้อมการขับถ่ายเป็นปกติ

แต่ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดที่ไม่สะดวกในการบดตัวยานี้ หรือว่ามีสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้อยู่แล้วในบ้าน ก็สามารถนำมาทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่มได้เช่นกัน ซึ่งทำได้ง่ายมาก โดยนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้ในอัตราส่วนเสมอ (1:1:1) ใส่น้ำพอประมาณ ถ้าอยากได้แบบเข้มข้นก็ใส่น้ำน้อย ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว แต่ถ้าอยากได้แบบเจือจาง ใช้ดื่มทั้งวันเป็นน้ำสมุนไพรก็ให้ใส่น้ำมากหน่อย